ข้อความต้นฉบับในหน้า
(8) การวิเคราะห์ประเมินผล
เมื่อพูดเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ละครั้งก็ควรมีการวิเคราะห์ประเมินผลทุกครั้งเพื่อให้ทราบ
ว่าการพูดของเราเป็นเช่นไร ซึ่งต้องประเมินด้วยใจเป็นธรรมไม่เข้าข้างตัวเองเพื่อหาทางปรับปรุง
การพูดให้ดียิ่งขึ้น
2.2.6 วิทยาศาสตร์
1.) ความหมายของวิทยาศาสตร์
คำว่า “วิทยาศาสตร์” มาจากคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “Science” ซึ่งคำนี้มาจากภาษา
ลาตินว่า “Scientia” มีความหมายว่า รู้เห็นได้อย่างชัดเจนด้วยปัญญา หรือเห็นความแตกต่าง
ของสิ่งต่าง ๆ พจนานุกรม Webster's New World Dictionary of the American Language ให้
ความหมายคำว่า Science ไว้ดังนี้
(1) สภาพที่เป็นข้อเท็จจริงของความรู้
(2) ความรู้ที่เป็นระบบซึ่งได้จากการสังเกต ศึกษาและทดลองเพื่อให้รู้ธรรมชาติหรือ
หลักเกณฑ์ของสิ่งที่ทำการศึกษาสิ่งนั้นๆ
(3) สาขาหนึ่งของวิทยาการหรือการศึกษา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสร้างและจัดการ
ระบบข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งมีการตั้งสมมติฐานและทดสอบโดยการทดลอง
2.) วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การสังเกต การกำหนด
ปัญหา การตั้งสมมติฐาน การทดลอง และ การสร้างทฤษฎี
(1) การสังเกต คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้แก่
ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่
จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
(2) การกำหนดปัญหา จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทำไมจึง
เป็นอย่างนี้ โดยปัญหาจะต้องตรงประเด็นและสามารถทดสอบได้
1 รศ.ดร.นิคม ทาแดง และคณะ. (2541). “วิทยาศาสตร์ 3.” หน้า 10.
รศ.ดร.นิคม ทาแดง และคณะ. (2541). “วิทยาศาสตร์ 3.” หน้า 43-44.
34 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก