สาเหตุแห่งความร่ำรวยและยากจน GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 218
หน้าที่ 218 / 373

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงสาเหตุแห่งความร่ำรวยและยากจน โดยชี้ให้เห็นว่า บุญเป็นสาเหตุหลักที่สนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต พร้อมกับการขวนขวายในการสร้างฐานะ บุญนั้นเหมือนฐานรากที่คอยรองรับชีวิต หากขาดบุญ ชีวิตจะมีความยากลำบากและไม่มั่นคง การเข้าใจบุญจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความร่ำรวย
-ความยากจน
-บทบาทของบุญ
-การสร้างฐานะในชีวิต
-ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สุดท้ายกล่าวถึงอบายมุขทางเสื่อมแห่งทรัพย์ของมนุษย์ 8.3.1 สาเหตุแห่งความร่ำรวยและยากจน สาเหตุแห่งความร่ำรวยและยากจนนั้น นักศึกษาคงได้เรียนรู้กันมาพอสมควรแล้วใน วิชาต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาก่อนหน้านี้ ในที่นี้จะกล่าวทบทวนพอสังเขปอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตอกย้ำ ความจำและความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สาเหตุหลักที่ทำให้บางคนในโลกนี้มีฐานะร่ำรวย ใน ขณะที่บางคนมีฐานะยากจนนั้น มีอยู่อย่างน้อย 2 ประการ คือ สาเหตุส่วนละเอียดคือ “บุญ” และสาเหตุส่วนหยาบ คือ “ความขวนขวายในการสร้างฐานะ” โดยบุญจะเป็นสาเหตุหลัก ส่วน ความขวนขวายในการสร้างฐานะจะเป็นส่วนเสริม สาเหตุส่วนละเอียด คือ บุญ บุญเป็นเครื่องชำระล้างจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ เป็น “อริยทรัพย์” ซึ่งอยู่เบื้องหลังความ สุข ความสำเร็จทั้งปวงของมนุษย์ บุญเป็นรากฐานของชีวิต เป็นสิ่งที่คอยสนับสนุน เกื้อกูล ให้ ชีวิตเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง บุญมีลักษณะเป็นดวงกลม ใส สว่าง สถิตอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 บริเวณกลางท้องของมนุษย์ทุกคน บุญนั้นเป็นสิ่งละเอียด มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ จะเห็นได้ก็ ต่อเมื่อได้ฝึกสมาธิจนใจละเอียดในระดับเดียวกับสภาวะของดวงบุญ จึงจะมองเห็นบุญได้ ชาวโลกโดยมากเข้าใจกันว่า ความเจริญก้าวหน้า หรือความสำเร็จทั้งปวงของชีวิต ขึ้น อยู่กับ 1 สมอง กับ 2 มือเท่านั้น เพราะเขามองเห็นเพียงแค่นั้น เขายังมองไม่เห็นบุญที่มีอยู่ใน ตัว เปรียบเสมือนเวลาเรามองดู บ้านหรืออาคารต่าง ๆ เราจะเห็นเพียงแค่ หลังคากับตัวบ้าน เท่านั้น จะมองไม่เห็นเสาเข็มที่อยู่ใต้ดินซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่รองรับบ้านทั้งหลังเอาไว้ แต่ไม่ว่าเราจะมองเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม บ้านทุกหลัง ตึกทุกตึก ก็ยังคงมีฐานรากทำ หน้าที่รองรับบ้านและตึกเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง หากไม่มีฐานราก อาคารก็ตั้ง อยู่ไม่ได้ฉันใด หากไม่มีบุญหรือหมดบุญ ชีวิตก็ตั้งอยู่ไม่ได้ฉันนั้น บุญจึงเปรียบเสมือนเสาเข็ม แต่เป็นเสาเข็มของชีวิต ที่คอยสนับสนุนส่งเสริมให้ชีวิตมี ความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง ยิ่งมีบุญมากเท่าไร ชีวิตของบุคคลนั้น ๆ ก็จะยิ่งเจริญก้าวหน้า มากเท่านั้น ไม่ว่าเจ้าตัวจะรู้หรือไม่รู้ ไม่ว่าเจ้าตัวจะเห็นหรือไม่เห็นดวงบุญในตัวเขาก็ตาม ใน ทางตรงกันข้ามหากใครก็ตามมีบุญน้อย ชีวิตเราก็จะตกต่ำ ลำบาก ยากจน ไม่ค่อยจะประสบ ความสําเร็จในชีวิต บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 207
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More