ข้อความต้นฉบับในหน้า
หากเป็นกรรมชั่วก็จะเกิดบาปขึ้นและถูกเก็บไว้ในใจเช่นกัน บาปในที่ถูกเก็บไว้ใจนี้เอง เมื่อถึง
เวลาส่งผลก็จะทำให้เกิดการอาพาธ
สาเหตุแห่งการอาพาธทั้ง 8 ประการที่กล่าวมานี้สามารถสรุปให้เหลือ 2 ประการได้
ดังนี้ คือ สาเหตุทางกาย และ สาเหตุทางใจ โดย 7 ประการแรกถือเป็นสาเหตุทางกาย ส่วน
ข้อที่ 8 คือ วิบากกรรมนั้นถือว่าเป็นสาเหตุทางใจ เพราะเป็นสาเหตุที่เกิดจากบาปที่อยู่ในใจส่ง
ให้เกิดการอาพาธด้วยโรคต่าง ๆ
ผล
การเจ็บป่วยอันเกิดจากวิบากกรรมนั้นเป็นความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหลักการแพทย์
ในพระไตรปิฎกและการแพทย์แผนปัจจุบัน เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากสำหรับแพทย์และชาว
โลกที่ไม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะวิบากกรรมจากอดีตชาติ อย่างไรก็ดี
วงการแพทย์อาจไม่ได้ให้ความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความละเอียดลึกซึ้งในด้านนี้แต่จะเชื่อหรือ
ไม่สิ่งนี้ก็ยังคงเป็นความจริงของโลกและชีวิตที่มนุษย์ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ตามหลักการที่มีอยู่
ในพระพุทธศาสนา
11.3.2 โรคชนิดต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก
คำว่า “โรค” พระอรรถกถาจารย์ให้ความหมายไว้ว่า เสียดแทง หรือ เบียดเบียน กล่าว
คือ เสียดแทงเบียดเบียนร่างกายและจิตใจให้ลำบาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แต่ก่อนมี
โรคร้ายอยู่เพียง 3 ชนิด คือ โรคอยาก โรคหิว และโรคชรา แต่เพราะการทำร้ายเบียดเบียนสัตว์
จึงทำให้มีโรคเพิ่มขึ้นถึง 98 ชนิด โรคทั้ง 98 ชนิดนี้ คือ โรคที่มีอยู่ในสมัยพุทธกาล แต่ใน
ปัจจุบันมีโรคเพิ่มมากขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้มีโรคแปลกๆ ใหม่ๆ และ
ร้ายแรงเกิดขึ้นเรื่อย ๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ และล่าสุด คือ โรคไข้กระต่าย ซึ่ง
ข่าวบอกว่าโรคนี้มีเชื้อรุนแรงถึงขั้นผลิตเป็นอาวุธชีวภาพได้ทีเดียว
โรคทั้ง 98 ชนิดนั้นเป็นโรคอันเกิดจากวิบากกรรม เพราะเป็นผลมาจากการทำร้าย
เบียดเบียนสัตว์ ความจริงยังมีโรคที่เกิดจากสาเหตุอื่นอีก 7 ประการดังได้กล่าวมาแล้วซึ่งไม่รวม
อยู่ในโรค 98 ชนิดนี้ อย่างไรก็ตามโรคที่มีอยู่ในสมัยพุทธกาลเท่าที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก
สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ประมาณ 6 กลุ่ม คือ โรคผิวหนัง โรคลม โรคในท้อง โรคเกี่ยวกับอวัยวะ
* สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเท, มก. เล่ม 65 หน้า 132.
อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 หน้า 377.
* ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค, มจร. เล่ม 25 ข้อ 314 หน้า 572.
บทที่ 11 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 325