ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทึบแสงอย่างดีเมื่อเราเดินเข้าไปในห้องที่มืดก็จะมีโอกาสให้ตัดสินใจผิดพลาดได้เพราะมองอะไร
ไม่เห็น ไม่รู้ว่าควรจะเดินไปทางไหนดี มีโอกาสที่เราจะเดินชนสิ่งต่างๆ ในห้องจนได้รับบาดเจ็บ
หากมีงูอยู่ในห้องเราก็มีโอกาสเดินไปเหยียบงูได้แต่เมื่อเรานำผ้าทึบแสงออกแสงไฟในห้องก็จะไม่
ถูกบดบังเป็นเหตุให้ห้องสว่างไสว มองเห็นทุกอย่างได้ชัดเจน มีอะไรอยู่ในห้องเห็นแจ่มแจ้งหมด
เราก็จะไม่เดินไปชนประตูไม่เหยียบงู เพราะเรามองเห็นทุกอย่าง
ผ้าทึบแสงที่บดบังแสงไฟเอาไว้นี้ ก็เปรียบเสมือนกิเลสที่บดบังความสว่างของจิตใจเรา
การที่จะทำให้จิตใจสว่างไสวนั้น เราจะต้องกำจัดกิเลสให้หมดไปหรือให้เบาบางลง ด้วยการ
สร้างบุญ การสร้างบุญจะช่วยกำจัดกิเลสที่บดบังแสงสว่างของจิตใจให้เบาบางลงจนกระทั่ง
หมดสิ้นได้ เมื่อจิตใจของเราสว่างไสวแล้ว ก็จะคิดถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เมื่อคิดถูกก็จะ
พูดถูกและทำถูก ซึ่งเป็นเหตุให้เราไม่ทำผิดศีลผิดธรรม การงานต่าง ๆ จึงไม่ผิดพลาด ส่งผลให้
เราประสบความสำเร็จในชีวิตในที่สุด
5.5 วงจรของกิเลส กรรม และวิบาก
5.5.1 ความหมายและตระกูลของกิเลส
กิเลส หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง, ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต, ธรรม
อันยังจิตให้เศร้าหมอง, ความเศร้าหมองความเปรอะเปื้อน แห่งจิต), ความลำบาก, ความ
เบียดเบียน, ความกำจัด, ความทำลาย, ความเผา, ความแผดเผา, ความทุกข์, ภาวะที่เกิดขึ้น
ในใจและทำใจให้เศร้าหมอง, มลทิน (ของใจ)
ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 แสดงความหมายไว้ว่า
กิเลส หมายถึง เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง
กิเลสจัดแบ่งออกเป็น 3 ตระกูลใหญ่ๆ ตามลักษณะอาการที่มีปรากฏของกิเลสเหล่านั้น
กิเลสทั้ง 3 ตระกูล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ หรือเรียกว่า อกุศลมูล 3 ดังที่พ
ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.... โลภะเป็นอกุศลมูล 1 โทสะเป็นอกุศลมูล 1 โมหะเป็นอกุศลมูล 1
1.) กิเลสตระกูลโลภะ ได้แก่ กิเลสจำพวกที่ทำให้จิตหิว อยากได้ อยากกอบโกยเอามา
เป็นของตัว อยากหวงแหน อยากสะสมเอาไว้
1 พันตรี ป.หลงสมบุญ (2546). “พจนานุกรม มคธ-ไทย.” หน้า 194.
* ราชบัณฑิตยสถาน (2525). “พจนานุกรม.” หน้า 129.
บทที่ 5 ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 99