การประยุกต์ใช้หลักธรรมาธิปไตยในการปกครอง GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 149
หน้าที่ 149 / 373

สรุปเนื้อหา

การใช้หลักธรรมาธิปไตยในการปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราชเน้นพัฒนาเศรษฐกิจคู่ไปกับศีลธรรม เพื่อให้สังคมสงบสุข การจัดการเศรษฐกิจต้องควบคู่กับการพัฒนาจิตใจเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้ตัวอย่างจากพระพุทธเจ้าในการสอนให้รู้จักควบคุมกิเลส และการดูแลด้านเศรษฐกิจในสังคม ในกรณีมนุษย์ที่ถูกความหิวบีบคั้น พระพุทธเจ้าทรงรอจนเขาได้รับประทานอาหารก่อนจะสอนธรรมะ เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น การปกครองที่ดีจึงต้องบริหารจัดการทั้งด้านเศรษฐกิจและจิตใจให้สอดคล้องกันเพื่อสังคมที่ดีขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-หลักธรรมาธิปไตย
-พระเจ้ามหาวิชิตราช
-การปกครองที่ดี
-เศรษฐกิจและศีลธรรม
-พระพุทธศาสนาในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พรรษาอยู่ต่างอารามเสมอว่า “เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วย บิณฑบาตหรือ”1 มีอีกตัวอย่างหนึ่งคือ ครั้งหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดมนุษย์เข็ญใจคนหนึ่ง ในเมืองอาฬวี วันนั้นเขาเที่ยวหาโคที่หายไปตลอดวันเมื่อพบแล้วจึงรีบไปฟังธรรมทั้ง ๆ ที่ความหิว บีบคั้น พระพุทธองค์ทรงทราบความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยแห่งการบรรลุธรรมของเขา แต่ทรง ไม่แสดงธรรมโดยทันที เพราะทรงทราบว่าบุรุษผู้นี้ถูกความหิวบีบคั้น ไม่อาจจะฟังธรรมให้ เข้าใจได้ พระองค์ตรัสให้คนจัดอาหารให้เขา และทรงรอจนเขารับประทานเสร็จ จากนั้น พระองค์จึงแสดงธรรม ในที่สุดแห่งเทศนามนุษย์เข็ญใจผู้นี้ ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล จากเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจนั้นก็สำคัญมาก ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้อง บริหารจัดการเรื่องเศรษฐกิจให้ดี แต่ไม่ใช่ว่าดูแลเฉพาะเรื่องนี้อย่างเดียว จนละเลยศีลธรรม หากเป็นเช่นนี้ ก็ไม่อาจจะรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมไว้ได้เช่นกัน เพราะว่าคนที่ ทำความชั่วนอกจากเพราะความจนบีบคั้นแล้ว แต่ยังทำชั่วเพราะกิเลสบีบคั้นด้วย ดังได้กล่าวแล้ว ในอัคคัญญสูตร ด้วยเหตุนี้ หลักศีลธรรมจึงต้องเข้ามากำกับคนในสังคม ให้รู้จักควบคุมและกำจัด กิเลสในตัว พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เคยให้โอวาทไว้ ว่า การพัฒนาประเทศนั้น เศรษฐกิจกับจิตใจคือศีลธรรมต้องไปด้วยกัน จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ ได้ เปรียบเหมือนกับต้นไม้ เศรษฐกิจเป็นเสมือนราก ใบ เปลือก และกระพี้ ที่คอยห่อหุ้มและ ดูดซับอาหารมาหล่อเลี้ยงแก่น คือศีลธรรมให้เจริญเติบโต เศรษฐกิจที่ดีจะเป็นฐานให้คน ประพฤติศีลธรรมได้สะดวก ในขณะที่ศีลธรรมจะควบคุมและกำจัดกิเลสในตัวของมนุษย์ให้ หมดไป 6.8 ตัวอย่างการปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช ตัวอย่างการปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ แสดงให้เห็นถึง การนำหลักธรรมาธิปไตยมาใช้ในการปกครอง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจอันเป็นสิ่งสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อการปกครองโดยตรง จึงอาจจะเรียกว่าเป็น “เศรษฐศาสตร์การเมือง” ยุค โบราณก็ว่าได้ เพราะเป็นการปกครองที่เริ่มต้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี 'อุปักกิเลสสูตร, พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มจร. เล่ม 14 ข้อ 238 หน้า 280. * ธัมมปทัฏฐกถา, อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 373-376. 138 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More