ข้อความต้นฉบับในหน้า
(2) อัพยาบาท ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
(3) สัมมาทิฏฐิ คิดถูกเห็นถูก
กุศลกรรมบถ 10 นี้ท่านเรียกว่า มนุษยธรรม หมายถึง ธรรมของมนุษย์” เป็นธรรม
พื้นฐานประจำตัวที่มนุษย์ทั่วไปต้องมี หากคนใดไม่มีธรรมทั้ง 10 ประการนี้ได้ชื่อว่า เป็นมนุษย์
ที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีความประพฤติคล้ายสัตว์ คือ ฆ่ากัน ลักขโมยกัน มั่วสุมทางเพศกัน
เป็นต้น เมื่อละโลกไปแล้วก็ต้องไปรับผลกรรมชั่วในมหานรก พ้นจากนรกแล้วก็ต้องมาเกิด
เป็นสัตว์ดิรัจฉานต่างๆ ไม่อาจจะเกิดเป็นมนุษย์ได้ เพราะตอนเป็นมนุษย์เขาไม่มีมนุษยธรรม
กุศลกรรมอีกหมวดธรรมหนึ่งซึ่งนักศึกษาคุ้นเคยกันดีคือ “บุญกิริยาวัตถุ” โดยเฉพาะ
บุญกิริยาวัตถุ 3 อันได้แก่ ทาน ศีล และภาวนา ซึ่งจริงๆ แล้วกุศลธรรมทั้ง 2 หมวดนี้สามารถ
สงเคราะห์เข้ากันได้ดังนี้
กายสุจริต และ วจีสุจริต สงเคราะห์เข้ากับ “ทาน” และ “ศีล” ในบุญกิริยาวัตถุ ใน
ส่วนของศีลนั้นนักศึกษาคงเข้าใจดีเพราะมีเนื้อหาตรงกัน แต่สำหรับทานนั้นนักศึกษาหลาย
ท่านอาจจะสงสัยว่า จัดให้อยู่ตรงนี้ได้อย่างไร
จริงๆ แล้วศีลนั้นก็จัดเป็นทานประเภทหนึ่ง กล่าวคือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ถือเป็นการให้ความปลอดภัยในชีวิตแก่สัตว์ทั้งหลาย การงดเว้นจากการลักขโมยของที่ผู้อื่น
ถือเป็นการให้ความปลอดภัยในทรัพย์สินแก่ผู้อื่น และการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ถือเป็นการให้ความปลอดภัยแก่คู่ครองของผู้อื่น เป็นต้น
นอกจากนี้บุคคลที่ให้ทานบ่อย ๆ ใจของเขาจะยิ่งใหญ่และจะไม่คิดขโมยทรัพย์สินของ
คนอื่นเพราะแม้แต่ของตัวเองก็ยังสละให้คนอื่นได้ ดังนั้นการให้ทานก็จะช่วยส่งเสริมการรักษาศีล
ได้เป็นเป็นดี
มโนสุจริต สงเคราะห์เข้ากับ “ภาวนา” ในบุญกิริยาวัตถุ เพราะภาวนานั้นเป็นการ
บำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลสในใจ เป็นเหตุให้ อนภิชฌา อัพยาบาท และสัมมาทิฏฐิบังเกิดขึ้นได้
เพราะการไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่นก็ดี ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่นก็ดี และ
ความคิดถูกเห็นถูกก็ดี จะเกิดขึ้นได้เมื่
ด้เมื่อใจได้รับการฝึกแล้วเท่านั้น ซึ่งการเจริญสมาธิภาวนา
นั้นเป็นวิธีการฝึกใจที่ดีเยี่ยมที่สุด
อรรถกถามหาสีหนาทสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 18 หน้า 67 และ มโนรถปูรณี,
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 หน้า 99-100.
102 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก