วัดวาอารามในสมัยพุทธกาล GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 231
หน้าที่ 231 / 373

สรุปเนื้อหา

ในสมัยพุทธกาล มีวัดวาอารามสำคัญที่ปรากฏในพระไตรปิฎกถึง 10 แห่ง เช่น วัดเวฬุวันซึ่งสร้างโดยพระเจ้าพิมพิสาร และวัดพระเชตวันของอนาถบิณฑิกเศรษฐี นอกจากวัดแล้ว ยังมีการบริหารเศรษฐกิจที่เน้นการสั่งสมบุญและเสริมสร้างฐานะประชาชนด้วยหลักเศรษฐี อีกทั้งยังมีการเปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์ระหว่างโลกกับธรรมในระดับจุลภาคและมหภาค ทั้งนี้ อาจมีการเปรียบเทียบทิศทางการบริหารเศรษฐกิจโดยอิงจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ในยุคปัจจุบัน เช่น วิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก

หัวข้อประเด็น

-วัดในสมัยพุทธกาล
-การบริหารเศรษฐกิจ
-การเปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วัดวาอารามในสมัยพุทธกาล วัดวาอารามในสมัยพุทธกาลมีจำนวนมากในที่นี้จะยกตัวอย่างวัดวาอารามจำนวน 10 แห่งที่ปรากฏชื่ออยู่บ่อยครั้งในพระไตรปิฎกดังนี้ ลำาดับ วัด/อาราม/วิหาร เมือง ผู้สร้าง/ผู้ถวาย 1 วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสาร 2 วัดพระเชตวัน สาวัตถี อนาถบิณฑิกเศรษฐี 3 วัดบุพพาราม สาวัตถี มหาอุบาสิกาวิสาขา 4 นิโครธาราม กบิลพัสดุ์ เจ้าศากยะ 5 วัดโฆสิตาราม โกสัมพี โฆสิตเศรษฐี 6 กุกกุฏาราม โกสัมพี กุกกุฏเศรษฐี 7 ปาวาริกัมพวัน โกสัมพี ปาวาริกเศรษฐี 8 ชีวกัมพวัน เมืองราชคฤห์ ชีวกโกมารภัจจ์ 9 อัมพาฏกวัน มัจฉิกาสัณฑนคร จิตตคฤหบดี 10 สวนอัมพวัน เมืองเวสาลี นางอัมพปาลี จากที่กล่าวถึงการบริหารเศรษฐกิจของพระเจ้ามหาวิชิตราช และการบริหาร เศรษฐกิจของเมืองและแคว้นต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาลจะเห็นว่า มีการปฏิบัติตามหลักการทั้ง 2 ประการ คือ ส่งเสริมประชาชนให้มีความเข้าใจเรื่องบุญและสั่งสมบุญมากๆ และส่งเสริมประชาชน ให้ขวนขวายสร้างฐานะด้วยหลักหัวใจเศรษฐี 8.5 เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์ทางโลกกับทางธรรม การเปรียบเทียบนั้น จะเปรียบเทียบทั้งเศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาคและระดับมหภาค โดยระดับจุลภาคมี 2 ประเด็น คือ อุปนิสัยการให้ทานของมหาเศรษฐียุคปัจจุบัน และ อริยทรัพย์ กลยุทธ์สร้างความสุขในทุกยุคสมัย ส่วนเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาคมี 2 ประเด็นเช่นกัน คือ ระบบเศรษฐกิจทางโลกกับทางธรรม และวิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก 220 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More