การไตร่ตรองและภาวนามยปัญญา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 295
หน้าที่ 295 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการไตร่ตรอง ซึ่งคือการตั้งคำถามเพื่อที่จะเข้าใจในสิ่งที่เราเรียนรู้ และความรู้ที่เกิดจากการทำสมาธิภาวนา ซึ่งนำไปสู่การเห็นความจริงในสิ่งต่างๆ ผ่านการฝึกฝนสมาธิ มีการยกตัวอย่างถึงการใช้สมาธิในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยการนำใจไปจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้มีปัญญาในการคิดวิเคราะห์และวางแผน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการไตร่ตรอง
-การตั้งคำถามเพื่อความเข้าใจ
-ความรู้จากการทำสมาธิ
-ภาวนามยปัญญา
-เทคนิคในการทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ได้แต่ ไม่นำมาไตร่ตรองให้เข้าใจ ตัวเราเองก็จะไม่ต่างอะไรกับ “Hard disk” เก็บข้อมูลเท่านั้น กล่าวคือ “Hard disk” จำข้อมูลได้มากมายแต่มันไม่ได้เข้าใจในข้อมูลนั้นเลย หลักในการไตร่ตรองนั้น เราจะต้องสาวไปหาเหตุด้วยการตั้งคำถามว่า ทำไมผู้พูดจึง กล่าวอย่างนั้น ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ เมื่อเรารู้จักตั้งคำถาม ทำไม กับสิ่งที่ ศึกษาบ่อยๆ แล้ว เราจะเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถประยุกต์ใช้ได้ ความเจริญ ของโลกโดยเฉพาะทางด้านวัตถุในปัจจุบันก็เจริญขึ้นมาได้ด้วยการรู้จักตั้งคำถามว่า WhyWhyWhy .... ของนักวิทยาศาสตร์ต่อธรรมชาติรอบตัว เมื่อตั้งคำถามแล้วก็พยายามหาคำตอบจนได้ค้น พบหลักการของธรรมชาติ แล้วนำหลักการนั้นมาประยุกต์สร้างเป็นเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้น ความรู้ที่ได้จากการไตร่ตรองด้วยเหตุผลและรู้จักหาหลักฐานอ้างอิงอย่างเป็นระบบ จนค้นพบคำตอบที่ถูกต้องนั้น จึงเป็นความรู้ประเภท ความรู้คิด 10.4.3 ภาวนามยปัญญา : ปัญญาอันเกิดจากการปฏิบัติ : ภาวนามยปัญญา มาจาก ภาวนา (การทำสมาธิภาวนา) + มย (สำเร็จด้วย) + ปญฺญา (ปัญญา) หมายถึง ปัญญาอันสำเร็จด้วย หรือ ความรู้อันเกิดจากการทำสมาธิภาวนา ภาวนามยปัญญา เป็นความรู้ที่เกิดจากการเห็น คือ เห็นด้วยญาณทัศนะว่า สิ่งต่างๆ แท้จริงเป็นอย่างไร เมื่อเราปฏิบัติธรรมจนใจหยุดนิ่งและเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว จะน้อมใจไป ในเรื่องอะไรก็จะเห็นแจ้งและรู้แจ้งในเรื่องนั้นๆ ได้เป็นความรู้ที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ด้วย เหตุนี้ความรู้อันเกิดจากเจริญสมาธิภาวนาจึงเป็นความรู้ประเภท ความรู้แจ้ง หลักการของสมาธินั้นก็คือ การหยุดคิด ทำใจให้หยุดนิ่ง อย่างสบายๆ และต่อเนื่อง โดย การนำใจของเราไปจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียวไม่วอกแวกไปนึกถึงสิ่งอื่นหรืออาจจะทำ สมาธิโดยการทำใจให้ว่าง ไม่นึกคิดอะไรเลยก็ได้ การทำสมาธินั้นสามารถทำได้หลายลักษณะ คือ อาจจะใช้วิธีนั่งสมาธิโดยตรงก็ได้ หรือ อาจจะทำสมาธิโดยอ้อมด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ อย่าง เอาใจจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น นี้ก็ถือได้ว่าเป็นการทำสมาธิเช่นเดียวกัน ในเรื่องภาวนามยปัญญานี้คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงเคยสอน วิศวกรก่อสร้างท่านหนึ่งว่าเวลาเราคิดอะไรไม่ออก ให้หลบไปเงียบๆ ไปนั่งสมาธิเอาใจรวมเข้าไป ในตัว แล้วรวมงานทั้งหมดของเราเข้าไปไว้ในตัวด้วย เราจะคิดออก เราจะจัดแผนงานของเราออก ว่าจะต้องทำอะไร ทำยังไง จะเห็นชัด นั่งสมาธิทำให้เกิดปัญญา ยายยังใช้วิธีนี้เหมือนกัน งาน ในครัวมีปัญหาตรงไหน ยายจะกลับเข้าไปในกุฏิ นั่งเงียบๆ สักพัก ก็จะคิดวางแผนออก ว่าจะ 284 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More