ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทั้งหมดมีจำนวนยีนโดยประมาณเท่าๆ กันด้วย เมื่อนำยีนมนุษย์กับยีนหนูมาเปรียบเทียบกัน
ยีนต่อยีนพบว่า มีความคล้ายคลึงกันมาก ลิซ่า สติปส์ กล่าวว่า ส่วนที่แตกต่างกันระหว่างยืนหนู
กับยีนมนุษย์ไม่น่าจะเกิน 1% โดยต่างกันที่โครงสร้างและการผลิตโปรตีนของยีน ไม่ได้ต่างกันที่
จำนวนยีน ส่วนที่แตกต่างกันนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะเฉพาะของหนูและของ
มนุษย์ ส่วนผลการเปรียบเทียบยืนมนุษย์กับยีนของลิงชนิดที่ไม่มีหาง (apes) คือ ชิมแพนซี,
กอริลล่า และ อุรังอุตัง ก็พบว่ามีความคล้ายคลึงกันถึง 95% - 98% ทีเดียว
ผลการศึกษาของ ลิซ่า สต๊ปส์ สอดคล้องกับงานวิจัยของคณะวิจัยจากสถาบันวิจัย
จีโนมมนุษย์แห่งชาติ (NHGRI) และมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งร่วมกันเปรียบเทียบสายดีเอ็นเอ
ของมนุษย์กับลิงชิมแปนซี ลิงบาบูน แมว สุนัข วัว หมู หนูบ้าน หนูตัวเล็ก ไก่ ปลาม้าลาย และ
ปลาพัฟเฟอร์อีก 2 สายพันธุ์ โดย ดร.อีริค กรีน ผู้อำนวยการเอ็นเอชจีอาร์ไอ และหัวหน้าคณะ
วิจัย กล่าวว่า ผลที่ได้นำมาซึ่งหลักฐานชี้ชัดว่า มนุษย์มีความใกล้ชิดกับหนูมากกว่าสัตว์กินเนื้อ
อย่างสุนัข และ แมว เป็นต้น
ด้วยความที่ยีนและดีเอ็นเอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดต่าง ๆ มีความคล้ายคลึง
กับคนมากนี้เอง นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามถอดรหัสดีเอ็นเอของสัตว์เหล่านี้ออกมาเพื่
มาเพื่อเป็น
ต้นแบบในการศึกษาการเกิดโรคในมนุษย์ เช่น เมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย
มิสซูรี สหรัฐอเมริกาได้ถอดรหัสดีเอ็นเอของแมวสำเร็จ โครงงานนี้ช่วยให้เข้าใจการเจ็บป่วยใน
แมวกว่า 200 รูปแบบ ซึ่งคล้ายคลึงกับโรคที่เกิดกับมนุษย์ เช่น ตาบอด โรคเอดส์ เป็นต้น ก่อน
หน้านี้นักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จในการถอดรหัสดีเอ็นเอของสุนัขมาแล้ว
โดยพบว่า สาเหตุการเสียชีวิตของสุนัขส่วนใหญ่ มาจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งมีความใกล้
เคียงกับโรคมะเร็งในมนุษย์
5
ทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน กล่าวไว้ว่า “มนุษย์วิวัฒนาการมาจากลิงใหญ่”
และนักวิทยาศาสตร์โดยมากในปัจจุบันก็เชื่อเช่นนั้น แต่จากผลการถอดรหัสจีโนมของสัตว์
นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอเรนซ์ ลิเวอร์มอร์ [Lawrence Livermore National Laboratory
: LLNL] ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
* Lisa Stubbs (2008). “How closely related are mice and humans? How many genes are the same?”[Online]
Eric D. Green (2003). “Pioneering Study Compares 13 Vertebrate Genomes. [Online]
* ผู้จัดการ (2550). “ถอดดีเอ็นเอน้องเหมียว ต้นแบบรักษาโรคในคน.” [ออนไลน์]
* ไทยรัฐ (2548). “ถอดรหัสพันธุกรรมหมาได้ เพื่อรักษาสุขภาพมนุษย์” [ออนไลน์].
290 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก