ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.2) การรักษาอาพาธด้วยการเจริญสมาธิภาวนา
การเจริญสมาธิภาวนาเป็นทางมาแห่งบุญอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า “ภาวนามัย” ซึ่งถือว่าเป็น
วิธีที่ทำให้ได้รับบุญมากที่สุด และบุญที่เกิดขึ้นนี้ช่วยรักษาอาพาธให้หายได้เช่นกัน ดัง ตัวอย่าง
ที่บันทึกไว้ในกัมมวิปากชสูตรดังนี้
ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธหนักเพราะวิบากบาปกรรมในอดีต ท่านจึงระงับการอาพาธด้วย
การนั่งสมาธิ ตั้งกายตรง อดกลั้นทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อน อยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปนั้น จึงทรงเปล่งอุทานว่า “ภิกษุผู้ละ
กรรมทั้งหมดได้... ดำรงมั่น คงที่ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะบอกให้คนช่วยเยียวยา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็เคยใช้การเจริญสมาธิภาวนารักษาอาการประชวรของ
พระองค์เช่นกัน โดยครั้งหนึ่งพระองค์ได้เกิดพระประชวรรุนแรงจวนเจียนปรินิพพาน ขณะนั้น
ทรงพระดำริว่า “เราควรใช้ความเพียรขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตสังขารอยู่ต่อไป” ความเพียร
ในที่นี้คือการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อเข้าฌานสมาบัตินั่นเองเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงใช้ความเพียร
ขับไล่อาการพระประชวรแล้วอาการพระประชวรจึงสงบลงและหายในที่สุด
2.3) การรักษาอาพาธด้วยการทำสัจจกิริยา
การทำสัจจกิริยา หมายถึง การนึกถึงบุญ หรือ ความจริง ที่เคยทำไว้จริง ของตนเอง
หรือของบุคคลที่ต้องการจะบำบัดรักษา แล้วกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างถึงบุญ หรือ ความจริงนั้นว่า
“จงช่วยให้ตนหรือบุคคลที่อาพาธหายจากอาพาธนั้น” ซึ่งบุญที่ได้อ้างถึงนั้นรวมกับบุญจาก
การรักษาศีลคือ กล่าวสัจจวาจาละการพูดเท็จในขณะนั้น จะช่วยให้หายจากการอาพาธได้เป็น
อัศจรรย์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บวชเป็นดาบสอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ได้
ออกจากป่าเพื่อไปเยี่ยมสหายคนหนึ่ง ชื่อมัณทัพยะ
ในวันนั้นเองบุตรของท่านมัณฑพยะถูกอสรพิษตัวหนึ่งกัด จนสลบล้มลง มารดาและ
บิดาจึงพาบุตรไปให้พระโพธิสัตว์ช่วยรักษา พระโพธิสัตว์กล่าวว่า “ดีแล้วเราจักทำสัจจกิริยา”
แล้ววางมือลงที่ศีรษะกุมารนั้นพร้อมกับกล่าวคาถาว่า
“ตั้งแต่บวชมาจนถึงปัจจุบัน เราได้มีจิตเลื่อมใสในการประพฤติพรหมจรรย์อยู่เพียง 7
วันเท่านั้น หลังจากนั้น แม้เราจะไม่มีความใคร่บรรพชา แต่ก็ทนอยู่มาได้ถึง 50 กว่าปี ด้วย
กัมมวิปากชสูตร, มจร. เล่ม 25 หน้า 209
340 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก