ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.) ความสำคัญของอริยทรัพย์
อริยทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ประเสริฐกว่าโภคทรัพย์ทั้งหลาย พระมหากัปปินเถระกล่าว
ไว้ว่า “ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ก็เป็นอยู่ได้ ส่วนคนมีทรัพย์แต่ไม่มีปัญญา ก็เป็นอยู่ไม่ได้
ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินเรื่องที่ได้ฟังมา เป็นเหตุเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ นรชน
ผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ก็ยังประสบสุขได้”
สมัยหนึ่ง
อริยทรัพย์นั้นจะช่วยให้บุคคลคลายจากทุกข์และพ้นจากความทุกข์ได้อย่างถาวร ซึ่ง ต่าง
จากโภคทรัพย์ที่ให้ความสุขได้เพียงชั่วคราวแต่ไม่อาจจะช่วยให้พ้นจากทุกข์ถาวรได้
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาว
แคว้นสักกะได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันอุโบสถ พระพุทธองค์ได้ตรัสถามว่า “ท่าน
ทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถศีล บ้างหรือไม่หนอ”
อุ. (อุบาสกอุบาสิกา) กราบทูลว่า “บางคราวพวกข้าพระองค์ก็พากันรักษาอุโบสถศีล แต่
บางคราวก็ไม่ได้พากันรักษา พระพุทธเจ้าข้า”
ภ. (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายได้ชั่วแล้ว เมื่อชีวิตมีภัย
เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความ
โศกและความตาย บางคราวพวกท่านพากันรักษาอุโบสถศีล แต่บางคราวก็ไม่ได้พากันรักษา”
ภ. ตรัสว่า “ ท่านทั้งหลาย เมื่อบุคคลหาทรัพย์ได้วันละ 100 กหาปณะ 1,000 กหาปณะ
ก็เก็บทรัพย์นั้นไว้ เป็นผู้มีชีวิตอยู่ 100 ปี จะได้โภคสมบัติกองใหญ่บ้างหรือไม่หนอ”
อุ. กราบทูลว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
ภ. ตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย บุคคลนั้นจะเสวยสุขอย่างเดียวอยู่ตลอดคืนหนึ่ง วันหนึ่ง ครึ่ง
คืน หรือ ครึ่งวัน เพราะโภคสมบัตินั้นเป็นเหตุได้บ้างหรือไม่หนอ”
อุ. กราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
ภ. ตรัสว่า “ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
อุ. กราบทูลว่า “เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ว่างเปล่า มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดา พระพุทธเจ้าข้า”
ภ. ตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วนสาวกของเรา เป็นผู้ไม่ประมาท อุทิศกายและใจปฏิบัติ
ตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด 10 ปี แล้วได้เสวยความสุขอยู่ตลอด 100 ปีก็มี 10,000 ปีก็มี
100,000 ปีก็มี และสาวกของเรานั้น เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันก็มี
'ขุททกนิกาย เถรคาถา, มจร. เล่ม 26 ข้อ 550-551 หน้า 435-436.
บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 205