ข้อความต้นฉบับในหน้า
ตนเองโดยดื่มก่อนนอนและดื่มตอนเช้าครั้งละ 100 ซี.ซี. การใช้น้ำปัสสาวะบำบัดโรคนั้น
อธิบายได้ด้วย หลักพิษต้านพิษ เหมือนกับการทำเซรุ่มแก้พิษงู คือ จะฉีดพิษงูทีละน้อยๆ เข้า
กระแสเลือดมาจนได้ซีรั่มหรือน้ำเหลืองม้าออกมาเพื่อทำเป็นเซรุ่มแก้พิษงู” สำหรับน้ำปัสสาวะ
นั้นจะมีพิษอยู่จำนวนหนึ่งที่ร่างกายขับออกมา เมื่อเราดื่มเข้าไปใหม่พิษนั้นก็จะกลายเป็นเซรุ่ม
ช่วยแก้พิษที่ยังมีอยู่ในร่างกายได้เป็นอย่างดี
3) การผ่าตัดในสมัยพุทธกาลกับการผ่าตัดในปัจจุบัน
การที่ในสมัยพุทธกาลมีการผ่าตัดนั้นถือว่า วิชาการแพทย์มีความก้าวหน้ามากเพราะ
ประวัติการผ่าตัดของการแพทย์แผนปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศไทยเพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้
เอง กล่าวคือ การผ่าตัดครั้งแรกของไทยเกิดขึ้น ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2378 สมัยรัชกาลที่
3 โดยได้มีการผ่าก้อนเนื้องอกที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งออก
การผ่าตัดที่มีชื่อเสียงที่สุดซึ่งทำให้คนไทยทั่วไปรู้จักการผ่าตัด คือ การผ่าตัดของ
หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2379 ในวันนั้นหมอ
บรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดโดยการตัดแขนของพระภิกษุรูปหนึ่งทิ้ง เพราะพระรูปนี้ได้รับบาดเจ็บ
จากเหตุปืนใหญ่ระเบิดทำให้แขนเป็นแผลฉกรรจ์ จึงจำเป็นต้องตัดแขนทิ้งเพื่อรักษาชีวิตไว้
จะเห็นว่าการผ่าตัดในประเทศไทยเกิดขึ้นช้ากว่าถึงสองพันกว่าปีนอกจากนี้การผ่าตัดที่
ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นการผ่าตัดส่วนที่ยากและละเอียดอ่อน คือ ผ่าตัดสมองและ
ผ่าตัดลำไส้ ส่วนการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทยนั้นเป็นการผ่าตัดก้อนเนื้อที่หน้าผากและ
ผ่าตัดมือซึ่งง่ายกว่ามากกว่าที่การแพทย์ในประเทศไทยจะพัฒนาจนถึงขั้นผ่าตัดสมองและลำไส้
ได้ก็ใช้เวลาอีกหลายปี
4) การขับพิษในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน
หลักการแพทย์ในปัจจุบันทั้งการแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์ทางเลือกกล่าวถึง
การขับพิษของร่างกายไว้อย่างน้อย 4 ช่องทาง คือ การขับพิษทางการหายใจ การขับพิษทาง
เหงื่อ การขับพิษทางปัสสาวะ และการขับพิษทางอุจจาระ แต่ละช่องทางมีรายละเอียดดังนี้
4.1) การขับพิษทางการหายใจ จะอาศัยระบบการทำงานของปอดเป็นตัวขับพิษออก
* ผู้จัดการ(2548). “สรรพคุณ ดื่มน้ำปัสสาวะ ทางเลือกบำบัดโรค” (ออนไลน์),
* ดิ อโรคยา คลินิกการแพทย์แผนไทย (2551). “4 วิธีขับพิษออกจากร่างกาย” [ออนไลน์] และศูนย์พิษวิทยา
(2551). “เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นพิษเราจะอยู่ได้อย่างไร” [ออนไลน์]
346 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก