ความสูงและอายุของมนุษย์ตามพุทธประวัติ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 303
หน้าที่ 303 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความสูงและอายุของมนุษย์ตั้งแต่สมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้าจนถึงปัจจุบัน ถูกนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เช่น ความสูงเฉลี่ยของมนุษย์ที่ลดลง และอายุที่ลดน้อยลง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรวมถึงความสอดคล้องกับทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน ความรู้ที่ได้จากพระไตรปิฎกได้รับการเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ในมุมมองต่าง ๆ เช่น โลกธาตุกับเอกภพ

หัวข้อประเด็น

-ความสูงของมนุษย์
-อายุเฉลี่ย
-วิวัฒนาการ
-สิ่งแวดล้อม
-พุทธประวัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ถ้าหาก 1 ศอกมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เพราะฉะนั้นพระวิปัสสีพุทธเจ้า ซึ่งมีพระสรีระสูง 80 ศอก ก็จะสูงประมาณ 40 เมตรทีเดียว และมนุษย์ในยุคของพระองค์ก็มี ความสูงประมาณนี้หรือน้อยกว่านี้ไม่มาก เมื่อเทียบกับมนุษย์ในปัจจุบันแล้วจึงไม่อาจจะเทียบ กันได้ แม้แต่คนที่สูงที่สุดในโลกตามที่บันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก คือ นายลีโอนิด สตัดนิก ชาว ยูเครน ก็มีความสูงเพียง 2.57 เมตรเท่านั้น จะเห็นว่าความสูงของมนุษย์ลดลงมาเรื่อย ๆ รวมทั้งอายุก็ลดลงด้วยเช่นกัน สมัยพระ วิปัสสีพุทธเจ้าคนมีอายุถึง 80,000 ปี แล้วค่อยๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ จนถึงสมัยพระสมณโคดม- พุทธเจ้าเหลือแค่ 100 ปี และในปัจจุบันอายุเฉลี่ยของมนุษย์เหลือแค่ 75 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมก็เสื่อมลงด้วย อาหารเหลือน้อยลง คุณภาพอาหารก็ต่ำลง ป่าไม้ลดลง สัตว์ป่า สูญพันธุ์ไปจำนวนมาก และปัจจุบันปัญหาโลกร้อนก็เป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลัง วิตกกันอยู่ ความเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมานี้ ถือว่าสอดคล้องกับ ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมลงไม่ใช่เจริญขึ้น 10.6.2 อุตุนิยามกับวิทยาศาสตร์ เรื่องอุตุนิยามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก อันเกี่ยวกับเรื่องจักรวาล โลกธาตุ และภพภูมิต่าง ๆ เป็นต้น มีกล่าวไว้แล้วในวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิชาจักรวาลวิทยา นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาบางส่วนอยู่ในวิชาสมาธิ 8 และ วิชากฎแห่งกรรม เป็นต้น สำหรับวิชานี้ จะไม่กล่าวในรายละเอียดถึงเรื่องนี้อีก แต่จะนำความรู้จากที่นักศึกษาได้เรียนผ่านมาแล้วนั้น มาเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ดังนี้ 1) เปรียบเทียบโลกธาตุกับเอกภพ จากที่กล่าวถึงเรื่องเอกภพในทางวิทยาศาสตร์นั้น จะเห็นได้ว่ามีลักษณะหลายประการ ที่สอดคล้องกันกับโลกธาตุในพระไตรปิฎก เพราะโลกธาตุหมายถึง “กลุ่มของจักรวาล” ประกอบด้วยจักรวาลหลาย ๆ จักรวาลรวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ หากมี 1,000 จักรวาล ก็เป็น โลกธาตุขนาดเล็ก หากมี 1 ล้านจักรวาล ก็เป็นโลกธาตุขนาดกลาง และถ้าเป็น 1 ล้านล้าน จักรวาล ก็เป็นโลกธาตุขนาดใหญ่ ส่วนเอกภพนั้นก็เป็นที่รวมตัวกันของบรรดากาแล็กซี่ต่าง ๆ เรียกว่า กระจุกกาแล็กซี (Cluster of galaxies) ซึ่งกระจุกกาแล็กซี่นั้นก็มีมากมายและยังรวมกลุ่มกันเป็น ซูเปอร์คลัส- 1 จูฬนีสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 520 หน้า 431-433. 292 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More