การบริจาคและการบูชามหายัญในสังคม GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 159
หน้าที่ 159 / 373

สรุปเนื้อหา

การบูชามหายัญเป็นวิธีการที่พระราชาใช้ในการส่งเสริมการให้ทานและการกระจายความมั่งคั่งในสังคม โดยเฉพาะให้แก่คนระดับล่าง พระองค์ได้ไม่รับทรัพย์จากกลุ่มผู้มีอิทธิพล แต่กลับน้อมนำเสนอการให้ทานเพื่อเป็นตัวอย่าง นอกจากนี้ยังช่วยขจัดความโลภในสังคม และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชนและผู้ปกครอง เมื่อมีการบริจาคครั้งใหญ่ไปยังผู้ขยันแต่ยากจน ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-การบูชามหายัญ
-การบริจาคทาน
-ลดช่องว่างในสังคม
-เศรษฐกิจและการช่วยเหลือ
-ความโลภและการให้ทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้เกียรติ แทนการใช้พระราชอำนาจสั่งการ จึงเป็นที่ถูกใจกลุ่มบุคคลระดับบนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้บุคคลเหล่านี้เต็มใจช่วยพระราชาบริหารกิจการบ้านเมือง อย่างเต็มกำลังความสามารถ การจะให้อะไรแก่ใครก็แล้วแต่มีหลักอยู่ว่า จะต้องให้ในสิ่งที่เขาขาด และให้อย่างเหมาะ สม จึงจะบังเกิดผลมาก สำหรับคนจนขาดทรัพย์ ก็ต้องให้ทรัพย์ที่เหมาะสมกับเขา เช่น หาก เป็นชาวนาก็ให้ข้าวเปลือก พ่อค้าก็ให้ทุนไปลงทุน ข้าราชการก็ให้เบี้ยเลี้ยงหรือโบนัส เป็นต้น ส่วนคนรวยไม่ได้ขาดทรัพย์ แต่เขาปรารถนาการยอมรับ และความไว้วางใจจากผู้ปกครอง ต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อหน้าที่การงานหรือธุรกิจของเขา ด้วย เหตุนี้ผู้ปกครองจึงต้องให้เกียรติแก่พวกเขา กลุ่มผู้มีอิทธิพลทั้ง 4 กลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่เห็นด้วยกับการบูชายัญของพระราชาเท่านั้น แต่ยังนำทรัพย์มากมายมาถวายพระราชาด้วย ซึ่งพระเจ้ามหาวิชิตราชเองก็ไม่ทรงรับโดยตรัสว่า อย่าเลย ทรัพย์เป็นอันมากนี้ของข้าพเจ้า ก็ได้รวบรวมมาแล้วจากภาษีอากรที่เป็นธรรม พวก ท่านจงนำทรัพย์จากที่นี้เพิ่มไปอีก เมื่อพวกเขาถูกพระราชาปฏิเสธ ต่างคิดร่วมกันว่า การนำ ทรัพย์เหล่านี้กลับไปเรือนอีกไม่สมควรเลย เพราะพระเจ้ามหาวิชิตราชกำลังทรงบูชามหายัญอยู่ พวกเราจะบูชายัญตามเสด็จพระองค์บ้าง จึงได้บำเพ็ญทานตามอย่างพระราชา การบูชามหายัญนี้ จึงเป็นการกระจายความมั่งคั่งไปสู่บุคคลระดับล่าง เป็นการลดช่องว่างระหว่างผู้มีทรัพย์มาก ในระดับบน กับกลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในระดับล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของแผ่นดิน การที่พระราชาไม่ทรงรับทรัพย์ของกลุ่มคนระดับบน แต่กลับทรงพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับพวกเขาไปอีก สิ่งนี้ถือว่าเป็นกุศโลบายอันชาญฉลาด ในการ เชิญชวนทางอ้อมให้คนกลุ่มนี้ร่วมบำเพ็ญทานกับพระองค์ โดยพระองค์ทรงเป็นต้นแบบให้เขา ทำตาม และที่สำคัญเป็นการฝึกให้พวกเขารู้จักให้ทานเพื่อกำจัดความตระหนี่ ฝึกให้พวกเขา เป็นคนใจใหญ่ใจกว้างเพื่อป้องกันความโลภอันจะทำให้ทำผิดศีลธรรม เช่น การแสวงหาทรัพย์ โดยเอารัดเอาเปรียบหรือคดโกง ซึ่งปัญหานี้มีอยู่ในทุกยุคสมัยโดยมักจะเกิดกับกลุ่มคนระดับบน คนเหล่านี้ ไม่ได้แสวงหาทรัพย์โดยมิชอบเพราะยากจน แต่เพราะไม่รู้จักพอ ถ้าหากพวกเขา รู้จักการให้เสียบ้าง ความโลภก็จะลดลง จึงเท่ากับเป็นการป้องกันการเบียดเบียนกันในสังคม ไปในตัว มีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ การบูชามหายัญ หรือการบริจาคทานแก่ “ประชาชน ทั่วไป” ครั้งใหญ่นี้ จัดทำขึ้นหลังจากที่พระราชาแก้ปัญหาเศรษฐกิจระดับเบื้องต้นเสร็จแล้ว คือ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่คนระดับรากหญ้า 3 กลุ่มซึ่งขยันแต่ยากจน จนเศรษฐกิจฟื้นตัว ผู้คน 148 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More