การประพฤติและพระวินัยในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 174
หน้าที่ 174 / 373

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้พูดถึงการประพฤติและการอยู่ร่วมกันของคณะสงฆ์ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 2,500 ปี ซึ่งเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ควบคุมการประพฤติของพระภิกษุโดยไม่ขัดแย้งกับพระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติ โดยพระวินัยนั้นให้ความสำคัญกับการควบคุมและตรวจสอบตนเอง นอกจากนี้ยังพาผู้อ่านไปสำรวจความเป็นมาของกฎหมายในพระไตรปิฏก ซึ่งเผยให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ที่ต้องการการควบคุมและการปกครอง นำมาซึ่งการวางกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อลดความเดือดร้อนในสังคม รวมถึงการแต่งตั้งผู้ปกครองที่ทำหน้าที่รักษากฎระเบียบในชุมชน และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกฎหมายทางศาสนาในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของพระวินัย
-การประพฤติในคณะสงฆ์
-วิวัฒนาการของกฎหมายในพระไตรปิฏก
-การควบคุมตนเองในพระพุทธศาสนา
-เอกภาพในคณะสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประพฤติและการอยู่ร่วมกันของคณะสงฆ์มากว่า 2,500 ปี เป็นเสมือนหนึ่งรัฐธรรมนูญของ คณะสงฆ์ ส่วนกติกาย่อยที่หมู่สงฆ์ในที่ใดที่หนึ่งกำหนดขึ้นนั้นก็สามารถมีได้ตามความเหมาะสม ของยุคสมัยและสถานการณ์ แต่จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง บัญญัติขึ้นเหมือนกฎหมายที่ต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฉันนั้น พระวินัยอันเป็นพุทธบัญญัติทำให้ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ทั้งหมดนี้มีส่วน สำคัญยิ่งต่อการสร้างเอกภาพในคณะสงฆ์มายาวนาน ลองคิดดูว่า หากพระพุทธองค์ทรง อนุญาตให้ พระสาวกบัญญัติพระวินัยได้ สาวกยุคหลังซึ่งยังมีกิเลสอยู่และมีสติปัญญาไม่พออาจ รู้เท่าไม่ถึงการณ์บัญญัติสิกขาบทที่ไม่ควรบัญญัติขึ้น รวมทั้งเพิกถอนสิกขาบทที่เป็นพุทธบัญญัติ ต่าง ๆ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโดยเร็ว สิกขาบทที่ไม่ได้เป็นพุทธบัญญัตินั้นจะขาดความ สมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์ คณะสงฆ์บางคณะที่ไม่ยอมรับจะทำให้เกิดความแตกแยก ต่างกับพุทธ บัญญัติซึ่งแม้กาลเวลาจะผ่านมา 2,500 กว่าปีแล้วแต่ก็ยังคงความสมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์อยู่ พระสาวกยังช่วยกันรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของพระวินัย คือ เน้นการควบคุมและตรวจสอบตนเอง กล่าวคือ พระภิกษุที่ไปทำผิดพระวินัยเข้า ถือว่ามีความผิดต้องโทษนับตั้งแต่กระทำความผิด เช่น ไปเสพ เมถุนเข้าก็จะอาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที ไม่ว่าจะมีผู้อื่นรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ใน ขณะที่กฎหมายทางโลกจะต้องโทษก็ต่อเมื่อผู้ทำผิดถูกจับได้และถูกพิจารณาลงโทษแล้ว 7.2 ความเป็นมาของกฎหมายในพระไตรปิฏก จากเนื้อหาในอัคคัญญสูตรในบทที่ 5 แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์โดย เฉพาะเรื่องการเมืองการปกครอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์หรือเรื่องกฎหมายด้วย ในยุคแรก ที่มนุษย์บังเกิดขึ้นบนโลกนั้นยังไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ใดๆ เพราะมนุษย์ยุคนั้นมีบุญมากเพิ่งจุติ ลงมาจากพรหมโลก รู้ว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำ จึงอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เมื่อกาลเวลาผ่านไปยาวนาน มนุษย์ที่มีกิเลสมากเริ่มมาบังเกิดขึ้นประกอบกับ สิ่งแวดล้อมบนโลกกระตุ้นให้กิเลสที่มีอยู่ในใจของแต่ละคนฟูขึ้น เป็นเหตุให้มีการทำอกุศล กรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมและทำให้คนอื่น ๆ ในสังคมเดือดร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้มนุษย์ เหล่านั้นจึงประชุมกันวางกฎระเบียบต่างๆ ขึ้น เช่น ปักปันเขตแดนที่ทำกินกัน ไม่ล่วงล้ำเขตแดน ของกันและกัน มีการแต่งตั้งผู้ปกครองคือกษัตริย์ให้เป็นใหญ่ในที่ทำกินทั้งปวงให้ทำหน้าที่ตัดสิน ลงโทษคนกระทำผิดกฎระเบียบที่หมู่คณะตกลงกันไว้ กฎระเบียบที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็น กฎหมายในสังคมมนุษย์ยุคแรกๆ ซึ่งต่อมาก็ค่อยๆ วิวัฒนาการมาตามลำดับ และมีกฎระเบียบ บทที่ 7 นิ ติ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 163
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More