ข้อความต้นฉบับในหน้า
และที่สำคัญสาเหตุแห่งการอาพาธข้อสุดท้าย คือ วิบากกรรมนั้น เป็นการอาพาธ
เพราะกรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีตชาติหรือในปัจจุบันชาติมาส่งผล เมื่อทำความชั่วก็จะเกิดบาปขึ้น
ในใจ บาปนั้นจะถูกเก็บไว้ในใจและรอคอยเวลาส่งผลให้เรามีอันเป็นไปต่าง ๆ เช่น อาพาธ เป็นต้น
อาพาธอันเกิดจากบาปนี้จะต้องแก้ด้วยธรรมโอสถ คือ การสั่งสมบุญ จึงจะหายได้
เพราะบุญจะไปตัดรอดบาปนั้นให้เจือจางลงจนหมดกำลังส่งผล อุปมาบุญเหมือนกับน้ำ บาป
เปรียบเหมือนกับเกลือที่ใส่ไว้ในแก้ว เมื่อเราเติมน้ำลงไปในแก้วมากๆ ความเค็มของเกลือก็จะ
เจือจางลงจนหมดฤทธิ์เค็มในที่สุด
สำหรับวิธีการรักษาจิตใจด้วยธรรมโอสถ คือ การสั่งสมบุญนี้ สามารถทำได้หลายวิธี
เช่น การให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา การทำสัจจกิริยา และฟังธรรม เป็นต้น
อาหารและยาเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงและบำบัดรักษาร่างกายฉันใด ธรรมโอสถคือการสั่งสมบุญก็
เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงและบำบัดรักษาจิตใจฉันนั้น
2.1) การรักษาอาพาธด้วยการฟังธรรม
การฟังธรรมเป็นเหตุให้เกิดบุญวิธีหนึ่งเรียกว่า “ธัมมัสสวนมัย” บุญจากการฟังธรรม
นี้สามารถรักษาอาพาธได้ ซึ่งมีตัวอย่างการรักษาด้วยวิธีนี้จำนวนมา
ครั้งหนึ่ง พระมหากัสสปเถระอาพาธหนัก พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านและ
ทรงแสดงธรรมเรื่องโพชฌงค์ 7 ให้ท่านฟังว่า “กัสสปะ โพชฌงค์ 7 ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบ
แล้ว บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน...”
เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว พระมหากัสสปเถระ มีใจยินดี ชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และหายขาดจากอาพาธนั้นเป็นอัศจรรย์
พระมหาโมคคัลลานะ และ พระคิริมานนท์ ก็เคยอาพาธเช่นนี้เหมือนกัน และหาย
อาพาธเพราะได้ฟังฟังธรรมเรื่องโพชฌงค์ 7 และ สัญญา 10 ตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เองก็เคยหายจากพระประชวรเพราะได้ฟังธรรมเรื่องโพชฌงค์ 7 เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีตัว
อย่างอื่น ๆ อีกซึ่งบันทึกไว้ในพระสูตรต่างๆ เช่น ในปฐมเคลัญญสูตร วักกลิสูตร ปฐมศิลานสูตร
คิลานสูตร อนาถปิณฑิโกวาทสูตร เป็นต้น
ปฐมศิลานสูตร, มจร. เล่ม 19 หน้า 128. และ ทุติยคลานสูตร, มจร. เล่ม 19 หน้า 129-131.
บทที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 339