การทำความเข้าใจไตรสิกขาและพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 85
หน้าที่ 85 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับไตรสิกขาแบ่งออกเป็นระดับต้นและระดับสูง โดยระดับต่ำคือการเข้าใจว่ามีอะไรบ้างและปฏิบัติตาม จนถึงระดับสูงที่เห็นได้ด้วยตนเองว่ามีคุณสมบัติของศีลสมาธิปัญญา พระไตรปิฎกซึ่งมีหลักธรรมที่สำคัญจำนวนมากนี้เชื่อมโยงกันกับไตรสิกขา โดยพระวินัยปิฎกคือศีลสิกขา, สุตตันตปิฎกคือจิตสิกขา และอภิธรรมปิฎกคือปัญญาสิกขา ภายในบทนี้มีการกล่าวถึงนัยสำคัญของนิยาม 5 ที่นำมาเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-ไตรสิกขา
-พระไตรปิฎก
-อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
-นิยาม 5
-การศึกษาในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จิตสิกขา (สมาธิสิกขา) และปัญญาสิกขา ไตรสิกขาระดับต้นนี้เป็นไตรสิกขาในระดับ “รู้” หมายถึง รู้ว่าไตรสิกขามีอะไรบ้างเมื่อรู้แล้วก็ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขานั้นเมื่อปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้เข้า ถึงไตรสิกขาระดับสูงต่อไป ไตรสิกขาระดับสูงหรือเกินระดับปกติขึ้นไปจะเรียกว่า อธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา หรือ เรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ไตรสิกขาระดับสูงนี้เป็นไตรสิกขาในระดับ “เห็น” หมายถึง ได้ปฏิบัติสมาธิจนสามารถ “เห็น” ได้ด้วยตนเองว่าไตรสิกขาในตัวเรามี อะไรบ้าง กล่าวคือ ได้ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ในตัวที่ละเอียดเป็นชั้นๆ เข้าไปนั่นเอง คำว่า “อธิ” ในคำว่า อธิศีล เป็นต้น แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือ ล่วง หมายถึง ไตรสิกขา ที่ ยิ่งกว่า หรือเกินกว่า หรือล่วงพ้นจากไตรสิกขาในระดับต้น 4.7 พระไตรปิฎก พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อขยายความแล้วจะได้มากถึง 84,000 ข้อ หรือ 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยจัดอยู่ในพระวินัยปิฎก 21,000 ข้อ จัดอยู่ใน พระสุตตันตปิฎก 21,000 ข้อ และจัดอยู่ในพระอภิธรรมปิฎก 42,000 ข้อ พระไตรปิฎกหากนำมาเชื่อมโยงกับไตรสิกขาจะได้ดังนี้ คือ พระวินัยปิฎก คือ ศีลสิกขา สุตตันตปิฎก คือ จิตสิกขา พระอภิธรรมปิฎก คือ ปัญญาสิกขา สำหรับรายละเอียดเรื่องพระไตรปิฎกนั้นมีกล่าวไว้แล้วในวิชา “ความรู้พื้นฐานทาง พระพุทธศาสนา” จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในวิชานี้อีก 4.8 นิยาม 5 นอกจากหลักธรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีธรรมอีกหมวดหนึ่งซึ่งมีความ สำคัญ แต่ปรากฏอยู่ในอรรถกถาคือเรื่องนิยาม 5 ซึ่งจะใช้เป็นหัวข้อสำคัญในการเปรียบเทียบ กับวิทยาศาสตร์ ในบทวิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก 74 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More