ข้อความต้นฉบับในหน้า
สั่งสมบุญจะช่วยให้สุขภาพดีไปด้วย สำหรับคนเจ็บป่วย หากได้สั่งสมบุญมากๆ ก็จะหายอย่าง
รวดเร็ว นอกจากนี้จะชี้ให้เห็นว่ามีหลักการแพทย์ยุคปัจจุบันหลายประการที่สอดคล้องกับใน
พระไตรปิฎกซึ่งพุทธบริษัทใช้ดูแลรักษาสุขภาพมานานกว่า 2,500 ปี
11.2 การดูแลสุขภาพในพระไตรปิฏก
การดูแลสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การดูแลสุขภาพร่างกาย และ การดูแล
สุขภาพจิตใจ ความจริงแล้วทั้งร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดไม่อาจจะแยกจาก
กันขาดทีเดียว แต่เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการอธิบายและการศึกษาจึงกล่าวแยกออกเป็น 2
ประเด็น
11.2.1 การดูแลสุขภาพร่างกาย
การมีสุขภาพร่างกายดี คือ การมีร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และมีอายุขัยยืนนาน
ส่วนการมีสุขภาพจิตใจดี คือ การที่มีจิตใจบริสุทธิ์ ผ่องใสอยู่เสมอ จุดสูงสุดของการมีสุขภาพ
จิตใจดี คือ การกำจัดกิเลสอาสวะได้หมด หรือการเป็นพระอรหันต์นั่นเอง
พระอรหันต์ทุกรูปจึงเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตใจดีเสมอเหมือนกันทุกรูป แต่สุขภาพทาง
ด้านร่างกายนั้นแตกต่างกัน พระอรหันต์บางรูปมีอาพาธน้อย บางรูปมีอาพาธปานกลาง บางรูป
มีอาพาธมาก เช่น พระปิลินทวัจฉะ เป็นต้น ในขณะที่บางรูปไม่มีอาพาธเลยซึ่งก็คือ พระพากุล-
เถระนั่นเอง “พระเถระครองเรือน 80 ปี อาพาธเจ็บป่วยไรๆ ก็มิได้มีตลอดกาล...แม้บวชแล้ว
อาพาธแม้เล็กน้อยมิได้มีเลย”
พระพากุลเถระจึงเป็นต้นแบบของพุทธบริษัทผู้มีสุขภาพร่างกายดีคือ แข็งแรง ไม่มี
อาพาธ และอายุยืนคือท่านมีอายุถึง 160 ปี เหตุที่ท่านมีร่างกายแข็งแรงและอายุยืนเช่นนี้
เพราะผลบุญที่ท่านได้ทำไว้ในอดีตชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะบุญจากการถวายยารักษาโรค
แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้ ก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและ
มีอายุยืนได้เช่นกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสหลักการดูแลสุขภาพร่างกายไว้ 5 ประการซึ่ง
ปรากฏอยู่ในปฐมอนายุสสาสูตรดังนี้
1
* มโนรถปูรณี, อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 หน้า 471.
บทที่ 11 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 317