การสร้างทฤษฎีและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 47
หน้าที่ 47 / 373

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้ นักวิทยาศาสตร์จะต้องสามารถอธิบายข้อเท็จจริงและหลักการรวมถึงการสร้างแบบจำลองที่สามารถอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ได้ โดยวิธีการสร้างทฤษฎีและกฎที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล รวมถึงเจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการค้นคว้า ความไม่แน่นอนของความรู้ และอิสระเสรีภาพทางความคิดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักวิทยาศาสตร์.

หัวข้อประเด็น

-การสร้างทฤษฎี
-การสร้างแบบจำลอง
-กฎทางวิทยาศาสตร์
-เจตคติทางวิทยาศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างนั้นยังไม่พอ นักวิทยาศาสตร์จะต้องสามารถอธิบายข้อเท็จจริงหรือหลักการนั้นได้ด้วยว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงพยายามสร้างแบบจำลอง (Model) ขึ้น เขียน หลักการอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งนั้นขึ้น โดยที่คิดว่า แบบจำลองที่สร้างขึ้นนั้นจะใช้อธิบายข้อ เท็จจริงย่อยๆ ในขอบเขตที่เกี่ยวข้องนั้นได้ และสามารถทำนายปรากฏการณ์ที่ยังไม่เคยพบใน ขอบเขตของแบบจำลองนั้นได้ เราเรียกแบบจำลองที่สร้างขึ้นนี้ว่า ทฤษฎี ในการสร้างทฤษฎี นั้น นักวิทยาศาสตร์อาจทำได้ 2 วิธี คือ 5.1) สร้างโดยการศึกษาข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองเสียก่อนแล้วจึงใช้วิธี การอุปมาน รวมกับการสร้างจินตนาการ สร้างเป็นแบบจำลองหรือข้อความที่ใช้อธิบายผล การ สังเกตนั้นให้ได้ 5.2) สร้างทฤษฎีโดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์แต่เพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องใช้ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลอง (6) กฎ เป็นหลักการอย่างหนึ่ง แต่เป็นหลักการที่มักจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุกับผล ซึ่งอาจเขียนสมการแทนได้ กฎมีความเป็นจริงในตัวของมันเอง สามารถทดสอบได้ ผลตรงกันทุกครั้ง แต่ถ้ามีการทดลองใดที่ได้ผลขัดแย้งกับกฎแล้ว กฎนั้นจะต้องยกเลิกไป นอกจากนี้ กฎจะต้องอาศัยทฤษฎี ซึ่งเป็นข้อความสำหรับอธิบายให้เข้าใจว่า ทำไมความ สัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลของกฎนั้นจึงเป็นเช่นนั้น 4.) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ เจตคติ หมายถึง ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในที่นี้หมายถึง ท่าทีหรือ ความรู้สึกของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ในโลกหรือสิ่งที่กำลังศึกษาค้นคว้า ซึ่งโดยทั่วไป นักวิทยาศาสตร์จะมีเจตคติดังต่อไปนี้ (1) ตระหนักในความไม่แน่นอนของสรรพสิ่ง เชื่อแน่ว่าไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ใด ๆ เป็นความรู้สุดยอดไม่มีการเปลี่ยนแปลงชั่วนิรันดร์ (2) ยึดมั่นในความจริงและข้อเท็จจริง (3) ยึดมั่นในอิสระเสรีภาพทางความคิดพร้อมที่จะยืนยันและต่อสู้ป้องกันความคิด เห็นของตนเอง ไม่เชื่อตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาโดยไม่มีเหตุผล อุปมาน หมายถึง การเปรียบเทียบสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน 36 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More