ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระดำรัสนี้ถือว่าเป็นการสรุปหลักธรรมทั้งหมด ที่พระองค์ตรัสสอนมาตลอด 45 พรรษาให้เหลือ
เพียงข้อเดียวคือ ความไม่ประมาทเท่านั้น
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้อธิบายขยายความเรื่องความไม่
ประมาท ไว้ในกัณฑ์ที่ว่าด้วยเรื่องปัจฉิมวาจาว่า
ความประมาท คือ เผลอไป ความไม่ประมาท คือ ความไม่เผลอ ไม่เผลอละใจจดใจ
จ่อทีเดียว....ท่านจึงได้อุปมาไว้ ไม่ประมาท ไม่เผลอในความเสื่อมไปในปัจฉิมวาจา นึกถึงความ
เสื่อมอยู่เสมอ นึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย นี่เรามาคนเดียวหรือ นี่เราก็ตายคนเดียว บุรพชนต้น
ตระกูลของเราไปไหนหมด ตายหมด เราล่ะก็ตายแบบเดียวกัน ตกใจละคราวนี้ ทำชั่วก็เลิกละ
ทันที รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว เพราะไปเห็นอ้ายความเสื่อมเข้า ถ้าไม่เห็นความเสื่อม
ละก็ กล้าหาญนักทำชั่วก็ได้ ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ
4.4 ละชั่วทำดีทำใจให้ผ่องใส
หลักธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎก นอกจากจะรวมลงในความไม่ประมาทเพียงข้อ
เดียวแล้ว ยังสามารถขยายออกเป็น 3 ข้อได้ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปทานสูตร
เรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ว่า
(1) การไม่ทำบาปทั้งสิ้น (ละชั่ว)
(2) การยังกุศลให้ถึงพร้อม (ทำดี)
(3) การทำจิตของตนให้ผ่องใส (ทำใจให้ผ่องใส)
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
(1) การไม่ทำบาปทั้งสิ้น มาจากภาษาบาลีว่า สพฺพปาปสฺส อกรณ์ หมายถึง ไม่ทำชั่ว
ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ สพฺพปาปสฺส อกรณ์ นี้ ครอบคลุมพระวินัยปิฎกทั้งหมด หากจัดเข้า
ในไตรสิกขาก็จะตรงกับ “ศีลสิกขา”
(2) การยังกุศลให้ถึงพร้อม มาจากภาษาบาลีว่า กุสลสฺสูปสมฺปทา หมายถึง ทำความ
ดีให้มีขึ้นด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ กุสลสฺสูปสมฺปทา นี้ ครอบคลุมพระสุตตันตปิฎกทั้งหมด
หากจัดเข้าในไตรสิกขาก็จะตรงกับ “จิตสิกขา”
1 พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), (2537). “มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ” หน้า 199.
มหาปทานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 ข้อ 54 หน้า 55.
บทที่ 4 หลัก ธ ร ร ม สำคัญในพระไตรปิฎก DOU 71