วิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 242
หน้าที่ 242 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงผลกระทบจากความโลภของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเรื่องน้ำมันและอาหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีจำกัด การตัดไม้ทำลายป่า และการเกษตรจนเกินพอดี เนื้อหายังนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาผ่านการฟื้นฟูศีลธรรมตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเน้นให้ผู้คนรู้จักประหยัด ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และสร้างความเมตตาต่อกัน เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม รวมถึงสงครามและการก่อการร้ายที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ

หัวข้อประเด็น

-โลภธรรมและผลกระทบ
-การฟื้นฟูศีลธรรม
-วิกฤตการณ์อาหาร
-พลังงานและการใช้ทรัพยากร
-เศรษฐกิจป่วนโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ลงมาเรื่อยๆ สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ก็เสื่อมลงมาตามลำดับเช่นกัน กลุ่มเฮดจ์ฟันด์และพวกพ่อค้าที่โลภมากชอบกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไรในปัจจุบันก็ เหมือนกับพวกที่ชอบกักตุนข้าวสาลีในอัคคัญญสูตร จากเดิมเฮดจ์ฟันด์มีไม่กี่กลุ่มต่อมาก็มี การเลียนแบบกันมากขึ้น จนปัจจุบันเฉพาะในสหรัฐอเมริกามีเฮดจ์ฟันด์มากถึง 8,000 กลุ่ม ซึ่งสร้างความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก การที่มนุษย์ทั่วโลกใช้น้ำมันอย่างฟุ่มเฟือยก็ดี หรือใช้มากเพราะความเติบโตทาง เศรษฐกิจก็ดี เป็นเหตุให้น้ำมันที่มีอยู่ตามธรรมชาติลดลง จนน้ำมันที่สามารถเอามาใช้ได้จะ หมดโลกแล้ว เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับในอัคคัญญสูตรคือ เพราะกิเลสคือความโลภ เป็นต้น ทำให้ อาหารเก่าค่อยๆ หมดไป แล้วเกิดอาหารใหม่ขึ้นแทนแต่หยาบกว่าเดิม ต่างกันตรงที่ในยุคนี้คนมี บุญน้อยจึงต้องวิจัยกันอย่างยากลำบากกว่าจะได้พลังงานทดแทนมาใช้ได้ การขยายอาณาเขตของทะเลทรายก็ดี สภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลกระทบต่อการ ทำการเกษตรก็ดี เป็นเหตุให้พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตรไม่ได้มีทั่วไป แต่มีเป็นหย่อมๆ กระจัดกระจายไปทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ตัดไม้ทำลายป่า ทำ การเกษตรจนเกินพอดี การใช้หญ้าเลี้ยงสัตว์มากเกินไปจนงอกขึ้นทดแทนไม่ทัน ซึ่งสอดคล้องกับ ในอัคคัญญสูตรที่ว่าแต่เดิมข้าวสาลีมีอยู่ทั่วไปแต่เพราะความโลภของมนุษย์คือการกักตุนข้าวสาลี เป็นต้น ทำให้ข้าวสาลีงอกไม่ทัน บางแห่งไม่งอกอีก ปรากฏอยู่เป็นกลุ่ม ๆ หลักการแก้ไขวิกฤตการณ์อาหารและพลังงานโลก การแก้ไขก็ต้องยึดหลักการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังที่กล่าวไว้ใน “หัวข้อ ประวัติศาสตร์โลกและมนุษย์ชาติ” คือ ต้องฟื้นฟูเรื่องจิตใจคือศีลธรรมขึ้นใหม่ จึงจะทำให้ มนุษย์และสิ่งแวดล้อมเจริญขึ้นอีกครั้ง การพัฒนาเพียงเศรษฐกิจให้คนมีฐานะดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เพราะจะเห็นว่ามี คนรวยจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้จักความพอดี ยังละโมบโลภมากปั่นราคาน้ำมันและอาหารให้ สูงขึ้น จนผู้คนเดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า คนเหล่านี้ทำไปเพราะอำนาจกิเลสบังคับ เนื่องจากไม่มีศีลธรรมควบคุม หากได้มีการฟื้นฟูศีลธรรมโลกปัญหานี้ก็จะลดลง นอกจากนี้ ศีลธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเน้นให้คนรู้จักประหยัด ใช้ ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และยังสอนให้มนุษย์มีเมตตาต่อกันไม่รบราฆ่าฟันกันเอง ปัญหาสงคราม และการก่อการร้ายซึ่งนำไปสู่ความตกต่ำของเศรษฐกิจนั้น ล้วนเกิดจากมนุษย์ไม่มีเมตตาต่อกัน ไม่เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม หากได้มีการฟื้นฟูเรื่องจิตใจคือศีลธรรม ปัญหานี้ก็จะลดลงเช่นกัน บทที่ 8 เศรษฐศาสตร์ ในพระไตรปิฎก DOU 231
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More