ธรรมนิยามและความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 87
หน้าที่ 87 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมนิยามที่มีความสัมพันธ์ระหว่างนิยามต่าง ๆ เช่น พีชนิยาม อุตุนิยาม จิตตนิยาม และกรรมนิยาม ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำและความคิดที่ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม การศึกษาในเรื่องนี้ช่วยให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตที่ทรงคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมและจิตใจมนุษย์ พระองค์ตรัสสอนเกี่ยวกับการควบคุมจิตใจเพื่อให้เข้าถึงความดับทุกข์ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติธรรมสู่การพ้นทุกข์ได้อย่างชัดเจน

หัวข้อประเด็น

- ธรรมนิยาม
- อุปาทาน
- ตัณหา
- เวทนา
- ศีลธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เกิดผัสสะ ผัสสะทำให้เกิดเวทนาเวทนาทำให้เกิดตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้ เกิดภพ ภพทำให้เกิดชาติ ชาติทำให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส อริยสัจ 4 (สมุทัย คือตัณหา ทำให้เกิดทุกข์ มรรคนำไปสู่นิโรธ คือความดับทุกข์) เป็นต้น ส่วนนัยที่ 2 หมายถึง ความสัมพันธ์กันของนิยามทั้ง 4 ประการข้างต้น เช่น การ ประสูติของพระโพธิสัตว์ เป็นเหตุให้แผ่นดินไหว หรือเมื่อมนุษย์ไม่ควบคุมกิเลสในใจ ก็จะเป็น เหตุให้ทำผิดศีลธรรมและจะทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อม เป็นต้น ธรรมนิยามนี้ มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎทั้ง 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงใน ข้อสุดท้ายนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบนิยาม หรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ แต่พระองค์ตรัสสอนโดยเน้นเรื่องจิตตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม เพราะมีความ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดับทุกข์ ส่วนเรื่องอุตุนิยามและพืชนิยามนั้น พระองค์ตรัสไว้เพียงเล็ก น้อยเท่านั้นคือเฉพาะที่จำเป็นเพื่อให้เข้าใจแนวปฏิบัติสู่ทางพ้นทุกข์ได้ชัดเจนขึ้น พระพุทธองค์จะตรัสในกรณีมีผู้กราบทูลถาม หรือ นิยาม 4 ข้อแรก นักศึกษาคงได้เรียนรู้กันมาพอสมควรแล้วในวิชาต่าง ๆ ในที่นี้จะ ขยายความในส่วนของธรรมนิยามเพิ่มเติม ในความหมายนัยที่สองคือ ความสัมพันธ์กันของ นิยามทั้ง 4 ประการคือ พีชนิยาม อุตุนิยาม จิตตนิยาม และกรรมนิยาม เช่น ความหวั่นไหวใน หมื่นโลกธาตุ ในเวลาเสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จะเห็นว่า การจุติลงมาประสูติของพระโพธิสัตว์นั้นเป็นเรื่องของ พีชนิยาม ส่วนการ ไหวของภพต่าง ๆ ในหมื่นโลกธาตุเป็นเรื่องของ อุตุนิยาม ซึ่งตามปกติแล้วไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ ด้วยบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ ทำให้พืชนิยามส่งผลต่ออุตุนิยามได้ และในเวลาที่พระโพธิสัตว์ ทรงออกจากครรภ์พระมารดา ในเวลาที่ตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ ในเวลาที่พระตถาคตทรง ประกาศพระธรรมจักร ในเวลาที่ทรงปลงอายุสังขาร ในเวลาที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ตลอด หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหวเช่นกัน นี้ก็ชื่อว่า ธรรมนิยาม นอกจากนี้ยังมีกรณีอื่นๆ อีกที่แสดงให้เห็นว่านิยามแต่ละอย่างมีความสัมพันธ์กัน เช่น เมื่อมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม จะเป็นเหตุให้สิ่งแวดล้อมเสื่อม แต่เมื่อมนุษย์ตั้งอยู่ในศีลธรรม จะเป็นเหตุสิ่งแวดล้อมเจริญขึ้น กิเลสในจิตใจมนุษย์เป็นเหตุให้กับทำลาย กล่าวคือ กิเลส ตระกูลโทสะ ทำให้ไฟบรรลัยกัลป์ทำลายกัป กิเลสตระกูลราคะ ทำให้น้ำบรรลัยกัลป์ทำลายกัป กิเลสตระกูลโมหะ ทำให้ลมบรรลัยกัลป์ทำลายกัป ผู้ฝึกจิตจนได้อภิญญาสามารถแสดง 76 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More