ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากวิบากกรรมของพระโพธิสัตว์ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า แม้แต่พระโพธิสัตว์เองซึ่ง
สั่งสมบุญบารมีมามากและจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต แต่ในเส้นทางการ
สร้างบารมีนั้นพระองค์ก็ทรงเคยทำผิดพลาดมาไม่น้อยเหมือนกันโดยเฉพาะเรื่องวจีกรรม ซึ่ง
อให้หัวเราะ
เป็นกรรมที่ทำง่ายและส่งผลให้เกิดทุกข์มาก ทั้งทุกข์ในโลกมนุษย์และในนรก เมื่อพระองค์ตรัสรู้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงตรัสเตือนพุทธบริษัทไว้ว่า “อย่ากล่าวเท็จ แม้เพื่อให้
กันเล่น” และยังตรัสอีกว่า “คนที่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ไม่มีบาปกรรมอะไรที่เขาจะทำไม่ได้” เปรียบ
เสมือนช้างศึกตัวที่สละได้แม้แต่ชีวิตเมื่อเข้าสู่สงคราม จึงไม่มีอะไรที่ช้างศึกตัวนั้นจะทำไม่ได้
9.5 องค์แห่งธรรมกถึกหลักพื้นฐานของการแสดงธรรม
1
องค์แห่งวาจาสุภาษิตทั้ง 5 ประการที่กล่าวมานั้น เป็นหลักพื้นฐานทั่วไปสำหรับใช้ใน
การพูดทุกกรณี แต่ในการเทศน์สอนนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ตรัสหลักการโดยเฉพาะไว้
อีก 5 ประการ แต่หลักทั้ง 5 ประการนี้ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์แห่งวาจาสุภาษิตข้างต้น
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสกับพระอานนท์ว่า
“อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น จึงตั้ง
ธรรม 5 ประการไว้ในตน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุพึง
ตั้งใจว่า
1) เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ หมายถึง แสดงธรรมให้มีลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาด
ความ เช่น แสดงเรื่องทานเป็นลำดับที่ 1 แสดงเรื่องศีลเป็นลำดับที่ 2 แสดงเรื่องสวรรค์เป็นลำดับ
ที่ 3 อีกนัยหนึ่ง หมายถึง แสดงธรรมให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามที่ตั้งคาถาไว้
2) เราจักแสดงอ้างเหตุผล
3) เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู หมายถึง ต้องการอนุเคราะห์ด้วยคิดว่าจักเปลื้อง
เหล่าสัตว์ผู้มีความคับแค้นมากให้พ้นจากความคับแค้น
4) เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม หมายถึง ไม่มุ่งหวังลาภ คือ ปัจจัย 4 เพื่อตน
5) เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น หมายถึง ไม่แสดงธรรมยกตนข่มท่าน
อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่คนอื่น จึงตั้ง
ธรรม 5 ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น”
1
จูฬราหุโลวาทสูตร, ภิกขุวรรค มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 127 หน้า 265.
* อุทายีสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 159 หน้า 334.
บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
DOU 245