ปาราชิกและสิกขาบทในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 188
หน้าที่ 188 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงปาราชิกซึ่งหมายถึงการพ่ายแพ้ในเส้นทางนักบวช ทำให้ภิกษุสูญเสียสถานภาพและไม่สามารถกลับไปบวชได้ ผู้ที่ล่วงละเมิดแล้วจะต้องอาบัติปาราชิกและไม่สามารถแก้ไขได้ ขณะที่สังฆาทิเสสเป็นสิกขาบทที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการอยู่กรรม ผู้ที่ต้องอาบัติอื่น ๆ สามารถใช้วิธีปลงอาบัติ การศึกษานี้เน้นการทำความเข้าใจในหลักคำสอนและแนวทางการดำเนินชีวิตของภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยเน้นความสำคัญของศีลและการปฏิบัติธรรมเพราะเป็นพื้นฐานในการฝึกอบรมทางนิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก

หัวข้อประเด็น

-ปาราชิก
-สังฆาทิเสส
-อนิยต
-ศีลในพระพุทธศาสนา
-การอยู่กรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(1) ปาราชิก แปลว่า ผู้พ่ายแพ้ พ่ายแพ้ในที่นี้คือ พ่ายแพ้ต่อเส้นทางของนักบวช เพราะปาราชิกเป็นสิกขาบทหนัก ภิกษุใดล่วงละเมิดจะขาดจากความเป็นภิกษุทันที ไม่ว่าจะมี ผู้อื่นรู้ หรือไม่รู้ก็ตาม แม้ยังครองผ้าเหลืองอยู่ก็ถือว่าไม่ได้เป็นพระภิกษุแล้ว แต่เป็นฆราวาสที่ เอาผ้าเหลืองมาห่อไว้เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทปาราชิกเข้าแล้ว จึงต้องลาสิกขา ออกไป และจะไม่ได้รับอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุอีก การล่วงละเมิดหรือทำผิดสิกขาบทแต่ละข้อเรียกว่า “อาบัติ” หรือ “ต้องอาบัติ” ผู้ที่ ล่วงละเมิดสิกขาบทปาราชิกก็จะเรียกว่า “ต้องอาบัติปาราชิก” จะเห็นว่าสิกขาบทปาราชิกนั้นมีชื่อ สิกขาบทกับชื่ออาบัติเหมือนกัน แต่บางสิกขาบท เช่น หมวดเสขิยวัตรซึ่งชื่อสิกขาบทกับชื่อ อาบัติไม่เหมือนกัน กล่าวคือ หมวดเสขิยวัตรมีชื่ออาบัติว่า “ทุกกฏ (2) สังฆาทิเสส แปลว่า สิกขาบทที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ หมายความว่า เป็นสิกขาบทที่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดเข้าแล้วจะต้องอาศัยสงฆ์ช่วยจัดการแก้ไขให้ สังฆาทิเสสนั้นมีโทษหนักรองลงมาจากปาราชิก ผู้ล่วงละเมิดไม่ถึงกับขาดจากความเป็นภิกษุ ยังสามารถแก้ไขได้ ส่วนผู้ที่ต้องอาบัติปาราชิกไม่สามารถแก้ไขได้ ภิกษุใดต้องอาบัติสังฆาทิเสสจะแก้ไขด้วยการอยู่กรรม กล่าวคือ จะให้อยู่ในสถานที่ ที่แยกไว้สำหรับผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสโดยเฉพาะ ไม่อยู่ปะปนกับภิกษุทั่วไป เพื่อให้ผู้ต้อง อาบัติได้สำนึกผิดและสำรวมระวังต่อไป เมื่ออยู่กรรมจนครบกำหนดเวลาและผ่านขั้นตอนของ การอยู่กรรมทุกอย่างแล้ว ก็สามารถกลับมาอยู่รวมกับภิกษุทั่วไปได้ ในปัจจุบันพระภิกษุจำนวนมากนิยมอยู่กรรมแม้ไม่ได้อาบัติสังฆาทิเสส หรือบางรูป เพียงแค่สงสัยก็ขออยู่กรรมแล้ว ทั้งนี้เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งศีลของตน นอกจากนี้จะได้ มีเวลาศึกษาและปฏิบัติธรรมมากๆ ด้วย เพราะในระหว่างอยู่กรรม พระภิกษุรูปอื่นจะพยายาม หลีกเลี่ยงไม่ไปรบกวน สำหรับผู้ต้องอาบัติอื่น ๆ นอกเหนือจากปาราชิกและสังฆาทิเสสนั้น จะแก้ไขได้ด้วยการ “ปลงอาบัติ” ซึ่งหมายถึง การเปิดเผยอาบัติของตนต่อภิกษุอื่นหรือต่อสงฆ์ (3) อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน หมายถึง สิกขาบทที่ไม่แน่นอนว่าภิกษุผู้ถูกกล่าวหา จะถูกปรับว่าได้ทำผิดสิกขาบทข้อไหนในระหว่าง “ปาราชิก สังฆาทิเสสและปาจิตตีย์” หาก เป็นทางโลกอนิยตเปรียบเหมือนกับคดีที่มีทางตัดสินลงโทษได้หลายระดับขึ้นอยู่กับพยาน บุคคลที่เชื่อถือได้หรือผู้เห็นเหตุการณ์ บทที่ 7 นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 177
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More