ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในกรณีนี้ มีข้อสังเกตว่าปัญหาโจรมาจากความยากจนเป็นหลัก เพราะเมื่อพระโพธิสัตว์
แนะนำให้พระราชาแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจแล้ว ทำให้ปัญหาโจรระงับไป และในช่วงที่
พระราชาทรงปรารภจะบูชามหายัญนั้น เป็นช่วงหลังจากที่พระองค์ได้ทำสงครามแผ่ขยาย
อาณาจักรออกไปจนกว้างขวาง ผลของการรบย่อมทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลุกลามใหญ่โต ถึงกับมี
โจรปล้นเมือง ในทุกยุคสมัย ผลของสงครามจะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเหลือคณานับ เช่น
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปีค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ใน
อเมริกาเหนือ ยุโรป และแพร่ระบาดไปยังนานาประเทศทั่วโลก
ในกรณีนี้ ปัญหาที่แท้จริงจึงอยู่ที่ “ความยากจนอันเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ” การจะ
แก้ปัญหานี้ได้ จึงต้องแก้ไขที่เศรษฐกิจอันเป็นต้นเหตุของปัญหา ด้วยเหตุนี้ พระโพธิสัตว์จึง
กราบทูลพระราชาว่า “การปราบปรามโจรด้วยการประหาร จองจำ ปรับไหม ตำหนิ หรือ เนรเทศ
ไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ....” เนื่องจากการแก้ปัญหาวิธีนี้ เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ไม่
อาจจะให้ปัญหานี้จบสิ้นได้อย่างถาวร เปรียบเสมือนกำจัดวัชพืชด้วยการตัด ไม่อาจจะทำให้
วัชพืชนั้นตายได้ จะต้องถอนรากถอนโคนอันเป็นต้นเหตุที่แท้จริงทิ้งไป
6.9.4 แก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยส่งเสริมคนที่ขยัน
วิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของพระโพธิสัตว์ คือการส่งเสริมคนระดับล่าง 3 กลุ่ม ซึ่ง
ขยันทำมาหากิน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร, กลุ่มพ่อค้า และกลุ่มข้าราชการ ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า
ต้องมีระบบการคัดคนเป็นอย่างดี ไม่ช่วยแบบเหวี่ยงแหเพราะจะไม่บังเกิดผลดีเท่าที่ควร
การช่วยเฉพาะคนขยันนั้น จะทำให้ทรัพยากรที่ช่วยไปเกิดผลงอกงาม เศรษฐกิจโดย
รวมมีการขับเคลื่อนตัวสูงขึ้น ทำให้รายรับจากภาษีอากรสูงตามไปด้วย ส่งผลให้รัฐมีทรัพยากร
เพิ่มขึ้น สามารถช่วยเหลือบุคคลอื่นๆ ต่อไปได้อีก และเป็นการเชิดชูคนดีมีคุณธรรมให้สูงเด่น
เพื่อให้เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม เพื่อให้คนดีมีกำลังใจในการขวนขวายทำงานยิ่งๆ ขึ้นไป และ
ที่สำคัญคนที่เกียจคร้านจะได้ตระหนักว่า หากตนขยันทำงานบ้างก็จะได้รับการช่วยเหลือเช่นนี้
เหมือนกัน พวกที่เป็นโจรเพราะความยากจนบีบบังคับ ก็จะได้เลิกเป็นโจรแล้วหันมาทำมา
หากินบ้างดังคำกราบทูลของพระโพธิสัตว์ที่ว่า หากพระองค์ทำอย่างนี้ พลเมืองจักขวนขวายใน
การงานของตน จักไม่เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์
1 วิกิพีเดีย. (2551). “ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://
th.wikipedi.org/wiki.
146 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก