นิสัยและปัจจัยสร้างกรรมอย่างต่อเนื่อง GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 117
หน้าที่ 117 / 373

สรุปเนื้อหา

นิสัยคือความประพฤติที่เคยชินที่ส่งผลต่อการสร้างกรรมในชีวิต หากเรามีนิสัยดีเราจะสร้างกรรมดีอย่างต่อเนื่อง แต่หากมีนิสัยไม่ดีเราจะสร้างกรรมชั่ว การปรับปรุงนิสัยจึงสำคัญกว่าเพียงแค่มีความรู้ พระภาวนาวิริยคุณได้กล่าวถึงความสำคัญของนิสัยว่า "นิสัยสำคัญกว่า ความรู้" ซึ่งสะท้อนถึงความหมายว่าแม้เราจะมีความรู้มาก แต่ถ้าไม่ปรับปรุงนิสัยเราก็ยังทำชั่วต่อไป บุหรี่และสถานบริการทางเพศเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมที่ยังคงแพร่หลายในสังคมแม้รู้ถึงผลเสียของมัน การสร้างบารมี 30 ทัศและการทำกรรมให้เต็มเปี่ยมจึงต้องทำจนกลายเป็นนิสัยเพื่อความเจริญในธรรมศึกษาของเราไม่ข้ามชาติ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของนิสัย
-อุปนิสัย
-ความสำคัญของนิสัย
-การสร้างกรรมดีและกรรมชั่ว
-การปรับปรุงนิสัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.6 นิสัยปัจจัยสร้างกรรมอย่างต่อเนื่อง นิสัย หมายถึง ความประพฤติที่เคยชินคนที่มีนิสัยอย่างไรก็จะทำอย่างนั้นบ่อยๆ เช่น มีนิสัยรักการให้ทาน ก็จะให้ทานอยู่บ่อยๆ มีนิสัยชอบนินทาคนอื่น ก็จะนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ เป็นต้น นิสัยนั้นไม่ว่าจะเป็น “นิสัยดี” หรือ “นิสัยไม่ดี” หากเราไม่ปรับเปลี่ยนก็จะติดตัวเรา ไปตลอดชีวิตและจะติดตัวข้ามชาติอีกด้วย ในบางครั้งเราจะได้ยินคำว่า “อุปนิสัย” ซึ่งหมายถึง ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน หรือติดตัวมาข้ามชาตินั่นเอง ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างเรื่องอุปนิสัยที่ติดตัวมาข้ามชาติมากมายเช่นพระปิลินทวัจฉ เถระ เป็นต้น แม้จะเป็นพระอรหันต์แล้วแต่ท่านยังพูดกับผู้อื่นด้วยคำว่า “เจ้าถ่อย” เสมอ ซึ่งเป็น เพราะความเคยตัวที่ติดมาจากภพอื่น การสร้างบารมี 30 ทัศ ได้แก่ ทานบารมี เป็นต้นของ พระโพธิสัตว์และพระสาวกก็เหมือนกัน ต้องทำจนเป็นนิสัยจนบารมีเต็มเปี่ยมจึงตรัสรู้ธรรมได้ 5.6.1 ความสำคัญของนิสัย นิสัยมีความสำคัญตรงที่เป็นเหตุให้เราสร้างกรรมบางอย่างอยู่เป็นประจำหรือต่อเนื่อง กล่าวคือ ถ้ามีนิสัยดีก็จะสร้างกรรมดีอยู่เป็นประจำถ้ามีนิสัยไม่ดีก็จะสร้างกรรมชั่วอยู่เป็นประจำ ผลที่เกิดขึ้นคือ หากเรามีนิสัยที่ดีเราก็จะทำกรรมดีอย่างต่อเนื่องและจะได้บุญเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องเช่นกัน แต่ถ้าเรามีนิสัยไม่ดีเราก็จะทำกรรมชั่วอย่างต่อเนื่องและจะได้บาปเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องด้วย พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ หรือ หลวงพ่อทัตตชีโว กล่าวไว้ว่า “นิสัยสำคัญกว่า ความรู้” ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า “ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด” และ “ดีชั่วรู้หมดแต่อด ไม่ได้” กล่าวคือ แม้เราจะมีความรู้มากทั้งความรู้ทางโลกและทางธรรม แต่ถ้าเราไม่ปรับปรุงนิสัย ให้ดี เราเองก็จะทำชั่วอยู่เรื่อยๆ ตามนิสัยไม่ดีของเรา เหมือนคนที่มีนิสัยชอบดูดบุหรี่ ชอบ เที่ยวและใช้บริการหญิงโสเภณี เขาก็รู้อยู่เต็มอกว่าตนเองอาจเป็นโรคร้ายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ ถึงกระนั้นเขาก็ยังทำสิ่งนั้นอยู่เป็นประจำ บุหรี่และสถานบริการทางเพศจึง เป็นธุรกิจที่ยังทำกำไรได้มากในเกือบทุกประเทศ ในขณะเดียวกันผู้ติดเชื้อเอดส์และเป็นโรค ระบบทางเดินหายใจก็เพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นกัน 1 ราชบัณฑิตยสถาน (2525) “พจนานุกรม (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์).” * มโนรถปูรณี, อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่ม 32 หน้า 428. 106 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More