ข้อความต้นฉบับในหน้า
(4) ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน น้ำเลือด น้ำหนอง หรือน้ำลายออกไปทิ้ง
(5) สามารถชี้แจงให้ผู้ป่วยเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่น ร่าเริง ด้วย “ธรรมีกถา (การเล่าเรื่องธรรมะ)” ตามกาล
อันควร
ทั้ง 5 ประการนี้ เป็นธรรมของผู้ควรพยาบาลผู้อาพาธ ส่วนผู้ใดที่ประกอบด้วยธรรม
ตรงข้ามกับ 5 ประการนี้ ก็ไม่สมควรพยาบาลผู้อาพาธ
จะเห็นว่าในการพยาบาลผู้ป่วยนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้พยาบาลทั้งร่างกายและ
จิตใจเช่นกันคือ ข้อ 1-4 เป็นการพยาบาลทางด้านร่างกาย ส่วนข้อ 5 คือ การแสดงธรรมีกถา
นั้น เป็นการพยาบาลจิตใจผู้ป่วยด้วยธรรมโอสถ
2) ผู้อาพาธที่พยาบาลได้ง่าย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้อาพาธที่ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
เป็นผู้พยาบาลได้ง่าย ธรรม 5 ประการมีดังนี้
(1) ทำสิ่งที่สัปปายะแก่ตน เช่น รับประทานอาหารที่ไม่แสลงต่อโรค เป็นต้น
(2) รู้จักประมาณในสิ่งที่สัปปายะ เช่น รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร
(3) รับประทานยา
(4) บอกอาพาธตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาล
(5) เป็นผู้อดกลั้นต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
ทั้ง 5 ประการนี้เป็นธรรมของผู้อาพาธที่พยาบาลได้ง่าย ส่วนผู้ใดที่ประกอบด้วยธรรมที่
ตรงข้ามกับ 5 ประการนี้ถือว่าเป็นผู้อาพาธที่พยาบาลได้ยาก
11.4 เปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์ยุคปัจจุบัน
การแพทย์ยุคปัจจุบัน หมายถึง การแพทย์ทั้งหมดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทั้งการแพทย์
ตะวันตกหรือที่รู้จักกันในนามการแพทย์แผนปัจจุบัน และ การแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ทั้ง 5 กลุ่ม
ที่กล่าวไว้ในหัวข้อหลักการการแพทย์เบื้องต้นในบทที่ 2 การเปรียบเทียบนั้นจะเปรียบเทียบใน
1
ทุติยอุปัฏฐากสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มจร. เล่ม 22 ข้อ 124 หน้า 204-205.
ปฐมอุปัฏฐากสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มจร. เล่ม 22 หน้า 203-206.
บทที่ 1 1 แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
DOU 343