ลักษณะของความรู้ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 293
หน้าที่ 293 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเน้นการทดลองพิสูจน์ในพระไตรปิฎก โดยเน้นความรู้ที่มีหลักเหตุและผล รวมถึงการสอนเรื่องอริยสัจ 4 ที่ช่วยให้คนพ้นจากทุกข์ นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีแม้ว่าไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้เลยละเอียดและแสดงถึงความแตกต่างระหว่างความรู้โลกิยะกับโลกุตตระ

หัวข้อประเด็น

-การทดลองพิสูจน์
-อริยสัจ 4
-ความรู้ในพระไตรปิฎก
-การเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์
-ความรู้โลกิยะและโลกุตตระ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทดลองพิสูจน์นั้นต้องแยกแยะว่า สิ่งไหนควรพิสูจน์ สิ่งไหนไม่ควร เช่น เรื่องยาเสพติด เป็นสิ่งที่ ไม่ควรทดลองพิสูจน์ว่ามันไม่ดีอย่างไร เพราะโทษของมันเราเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว 10.3 ลักษณะของความรู้ในพระไตรปิฎก ลักษณะของความรู้ที่สำคัญในพระไตรปิฎก คือ เป็นความรู้ที่ตั้งอยู่บนหลักเหตุและผล ดังที่พระอัสสชิได้แสดงธรรมโดยย่อเรื่อง อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่อุปติสส ปริพาชกว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความ ดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้” ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ หมายถึง ความทุกข์เกิดจากเหตุ คือ ตัณหา พระตถาคต ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น หมายถึง พระสัมมาสัม พุทธเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา และทรงแสดงความดับแห่งทุกข์ คือ นิโรธ ซึ่งหมาย รวมถึง มรรคมีองค์ 8 อันเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์ด้วย อริยสัจ 4 นี้ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอัสสชิจึงกล่าว กับอุปติสสปริพาชกว่า พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้ กล่าวคือ ปกติพระสัมมาสัม พุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องอริยสัจ 4 ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของการขยายความเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจมากขึ้น เพราะบางคนมีปัญญาน้อย ฟังธรรมโดยย่อเพียง 2 บรรทัด ดังที่พระอัสสชิกล่าวแก่อุปติสส ปริพาชกไม่อาจเข้าใจได้ ส่วนอุปติสสปริพาชกนั้นมีปัญญามากฟังธรรมเพียงแค่นั้นก็เข้าใจและ ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อท่านอุปสมบทแล้วชาวพุทธรู้จักท่านในนามพระสารีบุตรเถระ การที่ความรู้ในพระไตรปิฎกตั้งอยู่บนหลักเหตุและผลนี้ สอดคล้องกับลักษณะของ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาธรรมชาติเพื่อให้เข้าใจถึง สาเหตุที่ทำให้เกิดผลคือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ขึ้น เมื่อรู้แล้วก็ตั้งเป็นทฤษฎีหรือกฎขึ้น มา และนำกฎหรือทฤษฎีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นำมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยี ต่าง ๆ เป็นเหตุให้โลกมีความเจริญก้าวหน้า แต่ความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบนั้นยังเป็นความ รู้ทางโลกิยะ ไม่อาจช่วยให้ผู้ศึกษาพ้นทุกข์ได้ ต่างกับความรู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นพบคือ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นความรู้ทางโลกุตตระสามารถช่วยให้ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติพ้นจากทุกข์ได้ แต่ทั้งนี้ก็มีทฤษฎีที่สำคัญบางทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าไม่เป็นไปตามกฎแห่ง เหตุผลคือ “ทฤษฎีควอนตัม” ซึ่งมีหลักการว่า ในโลกของสสารที่มีขนาดเล็กไม่มีความคงที่ 1 พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 6 ข้อ 68 หน้า 125. 282 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More