ความสำคัญของกฎหมายในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 175
หน้าที่ 175 / 373

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้กล่าวถึงความสำคัญของกฎหมายในพระพุทธศาสนา และเน้นที่วินัยซึ่งเป็นกฎสำหรับฝึกอบรมกายและวาจา โดยระบุว่าศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 มีบทบาทสำคัญในการสร้างสังคมที่สงบสุข. พระวินัยถือเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญที่เกิดขึ้นในพระไตรปิฎก โดยการสร้างกฎเหล่านี้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกัน เนื้อหายังเปรียบเทียบกับกฎหมายในปัจจุบันซึ่งเป็นผลมาจากการมีความกิเลสมากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องมีการตั้งกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในสังคม. การพิจารณาเรื่องพระวินัย และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมกับวินัยจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าใจพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-กฎหมายในพระพุทธศาสนา
-ศีล 5
-กุศลกรรมบถ 10
-พระวินัย
-หลักการในพระไตรปิฎก
-มนุษยธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ในจักกวัตติสูตรและมหาสุทัสสนสูตรมีการกล่าวถึง กุศลกรรมบถ 10 และ ศีล 5 ว่าเป็นกฎระเบียบของคนในสังคมด้วย แต่ศีล 5 และ กุศลกรรมบถ 10 นั้นไม่มีใครบัญญัติ ขึ้นเป็น “มนุษยธรรม” ที่มีมาแต่เดิม ซึ่งมนุษย์ผู้มีบุญจะรู้ว่าเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติตามหากล่วงละเมิด จะเกิดความเสื่อม แม้ในอัคคัญญสูตรจะไม่ได้กล่าวถึงมนุษยธรรมโดยตรง แต่ถึงกระนั้นมนุษย์ ยุคแรกก็มีสิ่งนี้ประจำใจ จึงทำให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ต่อมาเมื่อคนมีกิเลสมากขึ้นและได้ ล่วงละเมิดมนุษยธรรมเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องออกกฎระเบียบอื่นๆ เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นกรอบกติกา ควบคุมคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อย คล้ายๆ กับยุคปัจจุบันซึ่งคนมีกิเลส มากจึงต้องมีกฎหมายต่าง ๆ มากมายช่วยบังคับควบคุม จะอาศัยเพียงศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 นั้นไม่เพียงพอแล้ว กฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาสังคม เกิดขึ้นเพื่อปราบปราม คนพาลอภิบาลคนดี เป็นกรอบให้คนในสังคมปฏิบัติตาม การบังเกิดขึ้นของพระวินัยสิกขาบท ต่าง ๆ ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาก็มีลักษณะเดียวกันนี้ ส่วนสังคมใดที่มีคนดีมีคุณธรรม ส้ มากหรือเป็นสังคมของคนมีบุญมาก สังคมนั้นก็ไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ ขึ้น เพราะคนจะรู้ว่าสิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขโดยอัตโนมัติ จากที่กล่าวมานี้เป็นความเป็นมาของกฎหมายซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก สำหรับ รายละเอียดในประเด็นอื่นๆ ของนิติศาสตร์นั้น จะกล่าวถึงเรื่องพระวินัยของพระภิกษุเป็นหลัก เพราะมีข้อมูลที่ละเอียดชัดเจนสะท้อนให้เห็นถึงหลักนิติศาสตร์ในพระไตรปิฎกได้เป็นอย่างดี 7.3 พระวินัยคือกฎหมายในพระไตรปิฎก ในพระพุทธศาสนา กฎหมายคืออะไร คำที่ใกล้ที่สุด ตรงที่สุด ก็คือคำว่า “วินัย” หรือ “ศีล” หรือถ้าเรียกเป็นข้อๆ ก็คือ สิกขาบท คำว่า วินัย หมายถึง “กฎสำหรับฝึกอบรมกาย วาจา” (วินยนโต เจว กายวาจาน) เพราะเป็นเครื่องป้องกันความประพฤติที่ไม่เหมาะสมทาง กายและทางวาจา เรื่องวินัยในพระพุทธศาสนานั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่และมีความสำคัญมาก เพราะเป็น 1 ใน 3 ของพระไตรปิฎกทีเดียวนั่น คือ พระวินัยปิฎก จริง ๆ แล้วคำว่า พระไตรปิฎกก็ดี คำว่าพระพุทธศาสนาก็ดี ที่เราเรียกกันปัจจุบันนี้เป็น คำใหม่ซึ่งเกิดขึ้นในยุคหลัง ศัพท์เดิมที่ใช้ในสมัยพุทธกาล คือ คำว่า “ธรรมวินัย” ธรรมวินัย มาจากคำคู่คือ ธรรม กับ วินัย แล้วรวมกันเป็นเอกพจน์ คือ สองอย่างแต่รวมเป็นอันเดียว นี้คือ ตัวของพระพุทธศาสนา เราจะต้องมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คำนี้ แล้วจะเห็นหลักการ 164 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More