ข้อความต้นฉบับในหน้า
เตอร์ (Supercluster) เอกภพที่นักดาราศาสตร์สามารถสังเกตการณ์ได้ในปัจจุบันอยู่ภายในรัศมี
14,000 ล้านปีแสง โดยประกอบด้วย ซูเปอร์คลัสเตอร์ (Super Cluster) 270,000 กลุ่ม กระจุก
กาแล็กซี (Cluster of galaxies) 500 ล้านกลุ่ม ประกอบด้วยกาแล็กซี่ทั้งหมดประมาณ 110,000
ล้านกาแล็กซี
“กาแล็กซี” ก็หมายถึง “จักรวาล” ในพระพุทธศาสนานั่นเอง ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์
สามารถสังเกตการณ์จำนวนกาแล็กซีได้เพียง 110,000 ล้านกาแล็กซี่ หรือ เพียง 11% ของ 1
โลกธาตุขนาดใหญ่เท่านั้นเพราะ 1 โลกธาตุขนาดใหญ่มีทั้งหมด 1 ล้านล้านจักรวาล หรือ 1
ล้านล้านกาแล็กซีนั่นเอง
เมื่อ “เอกภพ” หมายถึง “โลกธาตุขนาดใหญ่” ในพระไตรปิฎก ด้วยเหตุนี้เอกภพจึง
ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียวแต่มีจำนวนมากเพราะโลกธาตุในพระไตรปิฎกนั้นไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียวแต่
มีคำว่า หมื่นโลกธาตุหรือแสนโลกธาตุ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งองค์ความรู้นี้สอดคล้องกับ
ทฤษฎี เอกภพพองตัว (inflation theory) ของนักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่กล่าวว่า เอกภพของ
เราไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว แต่ยังมีเอกภพอื่นๆ อีกมากเป็น “พหูภพ (Mutiverse)” เอกภพเปรียบ
เสมือนเกาะเล็ก ๆ หลายเกาะที่กระจายกันอยู่ในมหาสมุทร
อวกาศ ในทางดาราศาสตร์นั้นก็เปรียบได้กับ อากาศธาตุ หรือ อากาสะ ในพระไตร
ปิฎก เพราะหมายถึง ที่ว่าง เหมือนกัน และที่สำคัญ อากาศธาตุ นั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ไม่มีที่สุดสี่ประการคือ “หมู่สัตว์, อากาสะ, อนันตจักรวาลและพระพุทธญาณ”
เมื่ออากาศธาตุหรือที่ว่างไม่มีที่สุด จักรวาลซึ่งตั้งอยู่ในอากาศธาตุก็ไม่มีที่สุดไปด้วย พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า อนันตจักรวาล และเมื่อจักรวาลไม่มีที่สุด หมู่สัตว์ที่บังเกิดในจักรวาล
เหล่านั้นจึงไม่มีที่สุดไปด้วยเช่นกัน
2) คลื่นวิทยุลึกลับในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก
นักดาราศาสตร์ค้นพบว่า มีแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุกระจายจากทิศต่าง ๆ ในท้องฟ้า
ทั่วไปหมดทั้ง ๆ ที่กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามีรูปร่างแบนคล้ายชิ้นแพนเค้ก ระบบสุริยะของ
เราอยู่ค่อนมาทางกลางของกาแล็กซีลักษณะแพนเค้กดังกล่าว ฉะนั้นเวลาเรามองออกไปก็จะเห็น
ดวงดาว “บริเวณขอบของกาแล็กซี” เป็นแถบทางช้างเผือกที่มีจำนวนดวงดาวมากกว่า “ด้าน
1 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 325 หน้า 408-409.
* สุตตันตปิฎก ขุททกนิกายสฺส อปทานํ พุทธวงศ์ รตนจังกมนกัณฑ์ ฉบับบาลี เล่ม 33 ข้อ 1 หน้า 414.
บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 293