ข้อความต้นฉบับในหน้า
ลักทรัพย์ การอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน เป็นต้น เกิดขึ้นในสงฆ์หรือในศาสนานี้” เมื่อใด
อาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นปรากฏขึ้น เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาฏิ
โมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
การที่อาสวัฏฐานิยธรรมจะปรากฏในสงฆ์หรือในศาสนานั้น มีเหตุอยู่ 3 ประการ
(1) สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนานแล้ว หมายถึง เป็นหมู่ใหญ่เพราะมีภิกษุเถระ
ซึ่งบวชมานานจำนวนมาก เพราะจะมีเหตุให้พระพุทธองค์บัญญัติสิกขาบทเกี่ยวกับพระเถระ เช่น
พระเถระรูปใดโง่เขลาไม่พึงให้อุปสมบท
เป็นต้น
(2) สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลายแล้ว หมายถึง มีแพร่หลายทั้งพระเถระ พระภิกษุ
ปานกลาง และพระภิกษุบวชใหม่ เพราะจะมีเหตุให้พระพุทธองค์บัญญัติสิกขาบทเกี่ยวกับการ
วางตัวระหว่างภิกษุที่ต่างพรรษากัน
(3) สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว เพราะจะมีเหตุให้พระพุทธองค์บัญญัติสิกขาบท
เกี่ยวกับเรื่องลาภสักการะ เช่น ภิกษุใดให้ของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภคด้วยมือของตนแก่
นักบวชเปลือยก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ภิกษุนั้นต้องปาจิตตีย์ เป็นต้น
2
พระอรรถกถาจารย์ยังได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะยัง
ไม่มีปรากฏในสงฆ์เพียงใด พระศาสดาจะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเพียงนั้น
เพราะถ้าบัญญัติ พระศาสดาจะถูกค่อนขอด จะถูกคัดค้าน และจะถูกติเตียน
เหล่าชนบางพวกจะค่อนขอด จะคัดค้านและติเตียนว่า พระสมณโคดมจักผูกมัดด้วย
สิกขาบททั้งหลาย จักบัญญัติปาราชิกเพื่อให้ภิกษุสงฆ์ยอมตามเรา ทำตามคำของเรา
กุลบุตร เหล่านี้ละกองโภคะใหญ่ละเครือญาติใหญ่ บางพวกละแม้ราชสมบัติอันอยู่ในเงื้อมมือ
เพื่อออกบวช เป็นผู้สันโดษด้วยความเป็นผู้มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง มีความเคารพ
ในสิกขา ไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิตมิใช่หรือ ในกุลบุตรเหล่านั้น ใครเล่า จักเสพเมถุนหรือจัก
ลักของๆ ผู้อื่น หรือจักฆ่าผู้อื่น หรือจักเลี้ยงชีวิตด้วยการอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ชนทั้งหลาย
ที่ไม่ทราบกำลังแห่งพระตถาคต จะทำให้สิกขาบทที่บัญญัติไว้กำเริบคือไม่คงอยู่ในสถานเดิม
การบัญญัติสิกขาบทไว้ก่อนที่จะมีอาสวัฏฐานิยธรรม เช่น การเสพเมถุน การลักทรัพย์
การอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน เป็นต้น เกิดขึ้นนั้น เปรียบเสมือนแพทย์ผู้ไม่ฉลาดเรียกบุรุษบาง
คนซึ่งหัวฝียังไม่เกิดขึ้นมาแล้วบอกว่า พ่อมหาจำเริญ หัวฝีใหญ่จักเกิดขึ้นในสรีระตรงนี้ของท่าน
11/359 พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑวรรณนา มก.
1/360 พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล มก.
ด
170 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก