เสียงสุรเสียงแห่งพระพุทธเจ้า GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 250
หน้าที่ 250 / 373

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงคุณสมบัติของพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่แสดงออกถึงความไพเราะและลึกซึ้ง ซึ่งได้รับการเปรียบเทียบกับเสียงของมหาพรหมและนกการเวก โดยเสียงเหล่านี้สร้างความฟังที่ตราตรึงใจให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมถึงเซ็นที่วาจาสุภาษิตที่มีความสำคัญต่อชีวิตและการสื่อสาร ทั้งนี้ วาจาสุภาษิตถือเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาซึ่งความสำเร็จและการเจริญก้าวหน้าในชีวิต ผู้พูดจึงจำเป็นต้องกลั่นกรองคำพูดของตนอย่างมีสติ.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของสุรเสียงพระพุทธเจ้า
-การเปรียบเทียบเสียงพระพุทธเจ้ากับเสียงของนกการเวก
-ความสำคัญของวาจาสุภาษิตในชีวิตประจำวัน
-บทบาทของคำพูดและผลกระทบต่อชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5) เป็นเสียงกลมกล่อม 6) เป็นเสียงไม่แปร่ง 7) เป็นเสียงลึก 8) เป็นเสียงก้อง คือ เข้ากันพอดี คือ ไม่พร่า คือ ลึกซึ้ง คือ กังวานและแจ่มใส องค์ 8 แห่งพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นผลที่เกิดจากการที่พระองค์ กล่าว คำสุภาษิตมานับภพนับชาติไม่ถ้วน มีการเปรียบเทียบว่าพระสุรเสียงของพระองค์นั้น เป็นเช่นกับเสียงมหาพรหมบ้าง เพราะเป็นเสียงที่แจ่มใสเนื่องจากไม่ถูกดีและเสมหะพัวพัน เสียงไม่ขาด และไม่แตก บ้างก็เปรียบว่าพระสุรเสียงของพระพุทธองค์ไพเราะดุจเสียงร้องของ นกการเวก พระอรรถกถาจารย์บันทึกไว้ว่า เมื่อนกการเวกกระพือปีกร้อง บรรดาสัตว์ 4 เท้า แม้กำลังหาอาหารก็ทิ้งหญ้าที่เข้าไปในปากเพื่อฟังเสียงนั้น บรรดาเนื้อร้ายที่กำลังติดตามพวก เนื้อน้อยๆ ก็ไม่วางเท้าที่ยกขึ้นยืนนิ่งอยู่เหมือนตุ๊กตา และบรรดาเนื้อที่ถูกติดตามก็ละความ กลัวตายยืนนิ่ง แม้บรรดานกกำลังบินไปบนอากาศก็เหยียดปีก ร่อนชะลออยู่เพื่อฟังเสียง แม้ บรรดาปลาในน้ำก็หยุดฟังเสียงนั้น 9.2.3 ความหมายและองค์ประกอบของวาจาสุภาษิต มีคำกล่าวว่า “ปลามีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ก็เพราะอาศัยปากเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็เพราะ ปากนั่นเอง ปลาจึงต้องติดเบ็ดเสียชีวิตโดยง่ายเช่นกัน คนเราจะประสบความสำเร็จ ได้รับ ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ก็เพราะอาศัยวาจาสุภาษิตจากปาก แต่ก็เพราะวาจาทุพภาษิตจาก ปากเพียงคำเดียว บางครั้งแม้แต่ชีวิตก็ยากจะรักษาไว้ได้” วาจาสุภาษิตนั้นถือเป็นหลักการพูด ขั้นพื้นฐานซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในวาจาสูตร 1) วาจาสุภาษิต คือ อะไร วาจาสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้ว มิใช่สักแต่พูดอวัยวะในร่างกาย ของคนเรา ก็แปลก ตา มีหน้าที่ดูอย่างเดียว หู มีหน้าที่ฟังอย่างเดียว จมูก มีหน้าที่ดมกลิ่นอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา 2 ตา ธรรมชาติให้มา 2 หู ธรรมชาติให้มา 2 รู ' สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖, อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 66 ข้อ 885 หน้า 633. บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 239
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More