ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในความหมายเดิม “มนุษยศาสตร์” เป็นการศึกษาที่เน้นหนักด้านจิตใจ ถือเป็นการ
พัฒนาสติปัญญาคุณธรรม และรสนิยมของบุคคลที่เป็นคุณค่าสูงสุด แต่ปัจจุบัน มนุษยศาสตร์
ขยายขอบเขตออกไปครอบคลุมถึงการศึกษาที่นำไปเป็นประโยชน์ใช้สอยโดยตรงอีกด้วย กล่าว
คือเป็นการผสมผสานระหว่างวิชาการกับอาชีพโดยตระหนักว่าความรู้ทางอาชีพจำเป็นต้องควบคู่
ไปกับวิชาการและการพัฒนาจิตใจของผู้ศึกษา จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง
2.) ลักษณะทั่วไปของมนุษยศาสตร์
ลักษณะทั่วไปของมนุษยศาสตร์ อาจจะแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ปรัชญาหลักทางมนุษยศาสตร์ คือ การสำนึกในคุณค่าของความเป็นมนุษย์
(2) จุดประสงค์ที่สำคัญของมนุษยศาสตร์ คือ การแสวงหาความหมายและคุณค่าของ
ความเป็นมนุษย์รวมทั้งคุณค่าของประสบการณ์มนุษย์ เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพชีวิต เพื่อใช้
แก้ไขปัญหาความทุกข์ทั้งในด้านวัตถุและด้านจิตใจโดยยึดคุณธรรมเป็นหลัก
(3) วิธีการหลักของการศึกษาทางมนุษยศาสตร์ คือ การตีความและการวินิจฉัย
ประสบการณ์โดยใช้หลักตรรกวิทยาหรือหลักเหตุผล
(4) การค้นหาข้อเท็จจริงและความหมายแต่เพียงอย่างเดียวเป็นแต่เพียงกิจกรรม
ส่วนหนึ่งของการศึกษาทางมนุษยศาสตร์ กิจกรรมทางปัญญาที่สำคัญยิ่งคือ การไตร่ตรอง
ใคร่ครวญเพื่อแสวงหาความหมายและคุณค่าในข้อเท็จจริงที่ศึกษา
(5) ในเมื่อมนุษยศาสตร์เป็นกิจกรรมเพิ่มพูนทางปัญญา ที่เกี่ยวพันกับประสบการณ์
มนุษย์ ดังนั้นเรื่องของวุฒิภาวะและประสบการณ์ของตัวนักมนุษยศาสตร์เองก็เป็นสิ่งที่ควร
คำนึงนึกถึงด้วย
วิชามนุษยศาสตร์นั้นเน้นจุดหมายที่ตัวมนุษย์ วิชานี้จึงเป็นการสร้างคนในฐานะเป็น
คน ไม่ใช่สร้างคนในฐานะเป็นผู้ประกอบอาชีพ เช่น วิศวกร หรือ สถาปนิก ความเป็นคนใน
ความหมายที่ว่ามีร่างกายและทำอะไรต่าง ๆ ที่ต้องการได้นั้น เป็นของที่ไม่ต้องศึกษาเพราะเป็น
อยู่แล้ว แต่การสร้างคนอย่างที่ “ควรจะเป็น” นั้น เราจะต้องศึกษา อุปมาเหมือนแร่เหล็กมี
ความเป็นเหล็กโดยธรรมชาติ แต่ถ้าจะหาเหล็กที่ดีก็ต้องมีการดัดแปลงแร่ธรรมชาตินั้นเสียก่อน
2
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2550), “มนุษยศาสตร์.” [ออนไลน์].
* อุไรวรรณ ธนสถิตย์. (2530), “หลักมนุษยศาสตร์” หน้า 17-18.
บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ใ น ท า ง โ ล ก DOU 15