ข้อความต้นฉบับในหน้า
7.8 สิกขาบทเป็นพุทธบัญญัติมิใช่มติคณะสงฆ์
จากตัวอย่างการบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 1 ข้างต้นจะเห็นว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ 1
ก็ดี หรือสิกขาบททุกข้อของภิกษุและภิกษุณีนั้นเป็นพุทธบัญญัติทั้งสิ้น กล่าวคือ พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าเป็นผู้ทรงบัญญัติ ไม่ได้เป็นมติคณะสงฆ์ ไม่ได้เกิดจากการประชุมปรึกษาหารือกับ
คณะสงฆ์ว่า ควรจะบัญญัติสิกขาบทข้อไหน อย่างไร ระดับของโทษของแต่ละสิกขาบทเป็นอย่างไร
สิกขาบทข้อไหนมีโทษหนัก สิกขาบทข้อไหนควรจะมีโทษเบา เป็นต้น ทุกอย่างที่กล่าวมานี้เป็น
พุทธบัญญัติทั้งสิ้นการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกประชุมสงฆ์นั้นเป็นเพียงการแจ้งให้สงฆ์ทราบ
เท่านั้นว่ามีเหตุเกิดขึ้น และพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนั้น ๆ อย่างไร พระภิกษุและ ภิกษุ
ณีเมื่อรับทราบแล้วจะได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติ
การจะทำอย่างนี้ได้ผู้บัญญัติพระวินัยจะต้องเป็นผู้รู้แจ้งโลก คือต้องเป็นพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าเท่านั้น บุคคลอื่นแม้เป็นพระอรหันต์ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะแม้จะหมดกิเลสแล้ว
แต่ยังไม่ได้เป็นสัพพัญญูรู้แจ้งโลกเหมือนพระพุทธองค์ ส่วนกฎหมายทางโลกนั้นเนื่องจากผู้ร่าง
ยังไม่หมดกิเลส และความรู้ยังไม่สมบูรณ์จึงต้องอาศัย การระดมความคิด ตัดสินด้วยเสียงส่วน
ใหญ่ และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ
ในอปริหานิยธรรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า “ไม่ให้บัญญัติสิ่งที่
ตถาคตมิได้บัญญัติไว้..... ไม่ให้เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ให้สมาทานประพฤติอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว” แม้ในส่วนของพระธรรมคำสอน พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าก็เป็นต้นแหล่งแห่งคำสอนทั้งมวลในพระพุทธศาสนา คำสอนหลักที่สำคัญ เช่น ความ
ไม่ประมาท, อริยสัจ 4, มรรคมีองค์ 8, ไตรสิกขา เป็นต้น ล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น พระสาวก
ทำหน้าที่เพียงอธิบายขยายความคำสอนของพระองค์เท่านั้น
การที่สิกขาบทของพระภิกษุและภิกษุณีทุกข้อเป็นพุทธบัญญัตินั้น เป็นข้อแตกต่างที่
สำคัญกับการบัญญัติกฎหมายในทางโลก เพราะกฎหมายทางโลกเกิดจากการประชุมระดม
ความคิดของนักกฎหมาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น ไม่ได้เกิดจาก
ความคิดของใครคนใดคนหนึ่งเพียงผู้เดียว
หากถามว่า เหตุใดสิกขาบทต้องเป็นพุทธบัญญัติเท่านั้น และเหตุใดพระธรรมคำสอน
ในพระพุทธศาสนาทั้งหมดต้องมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงผู้เดียวเท่านั้น เหตุใดพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าจึงไม่อนุญาตให้ภิกษุหรือภิกษุณีบัญญัติสิ่งที่พระองค์มิได้บัญญัติไว้บ้าง
มหาปรินิพพานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 ข้อ 70 หน้า 240.
180 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก