หลักมนุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 92
หน้าที่ 92 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวคิดในหลักมนุษยศาสตร์ตามพระไตรปิฎก โดยชี้ให้เห็นถึงผลของกรรมที่มนุษย์ทำ ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ส่งผลต่อชีวิตในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงความสำคัญของจิตใจ นิสัย และการสร้างบุญเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต รวมถึงวิธีการชำระกิเลสและบาปที่เกิดขึ้นในใจ ชีวิตของมนุษย์ถูกกำหนดด้วยกรรมที่ทำ และมีเป้าหมายชีวิตที่ต้องการสร้างบุญและบารมีเพื่อไปสู่พระนิพพาน ทั้งนี้เนื้อหามีการสำรวจองค์ประกอบที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ตามที่ระบุในพระไตรปิฎกอย่างละเอียดเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในมิติแห่งจิตใจและการกระทำของมนุษย์ในสังคม

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-การสร้างบุญ
-การจัดการจิตใจ
-เป้าหมายชีวิต
-นิสัยและกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. การที่มนุษย์ประพฤติอกุศลธรรมจะส่งผลให้โลกและมนุษย์เสื่อมลงเรื่อยๆ แต่เมื่อ มนุษย์ประพฤติกุศลธรรมจะทำให้โลกและมนุษย์เจริญขึ้นเรื่อยๆ 2. มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายกับจิตใจ ปกติจิตใจจะสว่างไสวแต่เพราะกิเลสที่เกิดขึ้น จึงทำให้จิตใจเศร้าหมองและเป็นเหตุให้มนุษย์ทำกรรมชั่วต่างๆ ส่งผลให้เกิดวิบากคือบาปขึ้นในใจ และบาปนี้ก็จะส่งผลให้ได้รับความทุกข์ วิธีการแก้ไขคือ ชำระกิเลสและบาปในใจให้เบาบางลงจนหมดไปในที่สุด ให้ทำกรรมดีด้วยการสร้างบุญ บุญจะ 3. นิสัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ทำกรรมดีหรือชั่วอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้เกิดบุญ หรือบาปสั่งสมอยู่ในใจในปริมาณมาก นิสัยนั้นถูกบ่มเพาะขึ้นจาก 5 ห้องที่เราใช้เป็นประจำใน ชีวิตประจำวันคือ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องแต่งตัว และห้องทำงาน 4. วิถีชีวิตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำ หากทำกรรมชั่วก็จะทำให้ชีวิตตกต่ำทั้งในชาติ นี้ และชาติหน้า ถ้าทำกรรมดีชีวิตก็จะเจริญรุ่งเรืองทั้งในชาตินี้และชาติหน้าเช่นกัน 5. เป้าหมายชีวิตมนุษย์มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้นคือการสร้างตัวสร้างฐานะให้มั่นคง ได้ในชาตินี้, ระดับกลางคือการสร้างบุญเพื่อเป็นเสบียงในภพชาติต่อไป และระดับสูงสุดคือ การสร้างบารมีอย่างยิ่งยวดเพื่อเข้าสู่พระนิพพานการได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะ ที่สร้างบุญบารมีได้สะดวกกว่าการเป็นอมนุษย์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาทราบและเข้าใจหลักมนุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎกดังนี้คือ ประวัติ ความเป็นมาของโลกและมนุษย์, ความหมายและองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์, ความสำคัญ และธรรมชาติของใจ, วงจรของกิเลส กรรมและวิบาก, นิสัยปัจจัยสร้างกรรมอย่างต่อเนื่อง, กรรมลิขิตชีวิตมนุษย์และสรรพสัตว์, เป้าหมายชีวิตของมนุษย์และความสำคัญของการเป็นมนุษย์ บทที่ 5 ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 81
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More