วินัยในพระพุทธศาสนา GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 177
หน้าที่ 177 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของธรรมและวินัยในพระพุทธศาสนา โดยเน้นว่า ธรรมเป็นจริงแท้ที่สูงสุดในโลก และวินัยถูกบัญญัติขึ้นเพื่อสนับสนุนธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงธรรมและบัญญัติวินัย 227 ข้อสำหรับพระภิกษุ โดยหลักของวินัยไม่ได้มีแค่ข้อบังคับ แต่เป็นข้อศึกษาที่ช่วยฝึกตน เมื่อบุคคลเข้าสู่ฐานะพระภิกษุควรปฏิบัติตามกิจวัตรอย่างถูกต้องและสมัครใจ เราต้องเข้าใจว่าพระวินัยมีความสำคัญในช่วงเวลาที่คนมีความกิเลสมากเท่านั้น

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของวินัย
-ความสำคัญของธรรม
-การแสดงธรรมและการบัญญัติวินัย
-สิกขาบทในพระพุทธศาสนา
-การฝึกตนในพระธรรมนิยม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แล้ว การจัดตั้งนั้นก็ไร้ความหมาย ดังนั้น วินัยคือการจัดตั้งของมนุษย์จึงต้องตั้งอยู่บนฐานของ ธรรม คือตัวความจริงแท้ ธรรมจึงสูงสุดในโลก ธรรมสูงสุดในสังคมมนุษย์ แม้พระสัมมาสัม พุทธเจ้าเองก็ทรงเคารพธรรม ธรรมจึงเป็นฐานของวินัย และเป็นทั้งจุดหมายของวินัย ธรรมเป็นเรื่องของความจริงแท้ในธรรมชาติ ส่วนวินัยถูกบัญญัติขึ้นเพื่อหนุนธรรม ใน พระพุทธศาสนา เมื่อพูดถึง ธรรม เราจะใช้คำว่า แสดง เพราะธรรมเป็นความจริงที่มีอยู่ตาม ธรรมดา เราเพียงแต่ไปรู้และแสดงมัน แต่ถ้าพูดถึง วินัย จะใช้คำว่า บัญญัติ เพราะเป็นเรื่องที่ จัดตั้งหรือทำขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราจึงพูดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ทรงแสดงธรรม” และพูด ว่า “ทรงบัญญัติวินัย” พระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัตินี้หมายเอาศีล 227 ข้อของ พระภิกษุ อย่างไรก็ตามพระวินัยหรือศีลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติขึ้นก็มี ได้แก่ ศีล 5, ศีลที่อยู่ในมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ซึ่งเป็นศีลที่มีมา แต่เดิมอยู่ในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ แต่องค์กรสงฆ์ยุคแรกซึ่งมีเฉพาะพระอริยเจ้านั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ได้ บัญญัติวินัยคือศีล 227 ข้อขึ้นแม้แต่ข้อเดียว ทั้งนี้เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้นเป็นผู้มีกิเลส เบาบาง มีวินัยในตัวเองคือ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ และมีสัมมาอาชีวะ ปกครองตนเอง ได้รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติพระวินัยเพิ่มอีก นอกจากนี้ในศาสนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบางพระองค์ เช่น พระวิปัสสี พระสิขี และ พระเวสสภู เป็นต้น ก็ไม่มีการ บัญญัติพระวินัยคือ 227 ข้อเลยแม้แต่ข้อเดียวตราบจนแต่ละพระองค์ปรินิพพานเพราะพระภิกษุ ในยุคนั้นเป็นผู้ไม่มีโทษ กล่าวคือ กิเลสเบาบาง รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ จึงไม่ทำในสิ่งที่ผิด คือเป็นโทษ เพราะฉะนั้นวินัยก็ดี กฎหมายก็ดีที่บัญญัติเพิ่มขึ้นมานั้นจึงจำเป็นเฉพาะยุคที่คนมี กิเลสมากเท่านั้น วินัย 227 ข้อของพระภิกษุนั้น แต่ละข้อจะเรียกว่า สิกขาบท คำว่า สิกขาบท มาจาก สิกขา + บท “บท” คือ ข้อ และ “สิกขา” คือ ศึกษา สิกขาบทจึงแปลว่า ข้อศึกษา หรือ ข้อฝึก สิกขาบทแต่ละข้อที่บัญญัติขึ้นมาในวินัยจึงเป็นข้อศึกษาทั้งสิ้นถ้าพระภิกษุเรียนรู้พระพุทธศาสนา อย่างถูกต้อง จะต้องมองสิกขาบทต่าง ๆ ว่าไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เป็นข้อฝึกตน หรือ ข้อศึกษา เป็น แบบฝึกหัด และตอนที่บุคคลใด ๆ เข้ามาบวชเป็นภิกษุนั้น ก็มาบวชด้วยความสมัครใจของตนเอง ไม่มีใครบังคับ เมื่อบวชแล้วอยู่ได้ จะลาสิกขาไปก็ไม่มีใครห้าม ดังนั้นสิกขาบทแต่ละข้อจึงเป็น ข้อศึกษา เป็นบทฝึกตน ไม่ใช่ข้อบังคับ แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อไม่เป็นข้อบังคับแสดงว่าไม่ จำเป็นต้องทำตามก็ได้เมื่อบวชแล้วก็ต้องทำตามกิจและข้อวัตรปฏิบัติของนักบวชให้สมบูรณ์จึงจะ 1 พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล, มก. เล่ม 1 หน้า 344. 166 DOU ด สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More