ข้อความต้นฉบับในหน้า
ให้มากมาย จึงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย คบมิตรชั่ว ไม่รู้จักเก็บรักษาสมบัติให้ดี และยังไม่ทำมาหากิน
อีก คอยแต่จะผลาญสมบัติไปวัน ๆ เท่านั้น หากเป็นเช่นนี้บั้นปลายของชีวิตก็จะย่ำแย่เหมือนกัน
ดังเรื่องราวของบุตรเศรษฐีคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล
บุตรเศรษฐีคนนี้เกิดในตระกูลที่มีสมบัติ 80 โกฏิ ในกรุงพาราณสี มารดาบิดาของเขาคิด
ว่า เราจักมอบสมบัติที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่บุตร บุตรของเราจะได้ใช้สอยอย่างสบายโดยไม่ต้อง
ทำงาน ในพระนครนั้น มีธิดาอีกคนหนึ่งเกิดในตระกูลอื่นซึ่งมีสมบัติ 80 โกฏิเช่นกัน บิดา
มารดาของนางก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน
เมื่อทั้งสองโตขึ้นก็ได้แต่งงานกัน ต่อมามารดาบิดาของคนทั้งสองก็ถึงแก่กรรม ทรัพย์
160 โกฏิก็ได้รวมอยู่ในเรือนเดียวกัน ปกติบุตรเศรษฐีนั้นมักไปเข้าเฝ้าพระราชาวันละ 3 ครั้ง
พวกนักเลงในพระนครนั้น คิดกันว่า ถ้าบุตรเศรษฐีนี้เป็นนักเลงสุรา ความผาสุกก็จักมีแก่พวก
เราวันหนึ่งพวกนักเลงนั้นถือสุรา นั่งดูทางของบุตรเศรษฐีนั้นผู้มาจากราชสกุล เมื่อเห็นเขากำลัง
เดินมาจึงดื่มสุราแล้วกล่าวว่า จงเป็นอยู่ 100 ปีเถิดนายเศรษฐีบุตร
บุตรเศรษฐีฟังคำของพวกนักเลงแล้ว จึงถามคนใช้ที่ตามมาว่า “พวกนั้น ดื่มอะไร”
คนใช้กล่าวว่า
บุตรเศรษฐีถามว่า
คนใช้กล่าวว่า
บุตรเศรษฐีนั้นพูดว่า
“ดื่มน้ำดื่มชนิดหนึ่ง นาย
“น้ำนั้นมีรสชาติอร่อยหรือ”
“นาย ธรรมดาน้ำที่ควรดื่มเช่นกับน้ำดื่มนี้ไม่มีในโลกนี้”
“แม้เราก็ควรดื่ม จึงให้นำสุรามานิดหน่อยแล้วก็ดื่ม”
ต่อมาไม่นานบุตรเศรษฐีก็ติดสุรา โดยมีนักเลงเหล่านั้นเป็นบริวาร ตั้งแต่บุตรเศรษฐี
ติดสุราก็ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ในเวลาไม่นานทรัพย์ของตนและของภรรยา 160 โกฏิก็หมดไป
ต่อมาจึงขายสมบัติของตน คือ นา สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ยานพาหนะ ภาชนะเครื่องใช้ ผ้าห่ม
ผ้าปูนั่งรวมทั้งเรือนที่อยู่อาศัยด้วย
เมื่อขายเรือนไปแล้วบุตรเศรษฐีก็พาภรรยาเที่ยวไปขอทาน วันหนึ่ง พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นเขาซึ่งยืนอยู่ที่ประตูโรงฉันคอยรับโภชนะที่เป็นเดนจากภิกษุหนุ่ม
และสามเณร จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนทเถระจึงทูลถามถึงเหตุที่ทรงแย้ม พระพุทธองค์
จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงดูบุตรเศรษฐีผู้นี้ ผลาญทรัพย์เสีย 160 โกฏิ พาภรรยาเที่ยวขอทานอยู่
ถ้าบุตรเศรษฐีไม่ผลาญทรัพย์ให้หมดสิ้น และประกอบการงานในปฐมวัย ก็จักได้เป็น
เศรษฐีชั้นเลิศในนครนี้ แต่ถ้าออกบวชก็จักบรรลุอรหัตผล แม้ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ใน
212 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก