ความสำคัญของใจในศาสนาพุทธ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 107
หน้าที่ 107 / 373

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวเกี่ยวกับการยึดมั่นในศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อฝึกสมาธิและบรรลุถึงนิพพาน โดยมีความสําคัญของใจที่เป็นศูนย์กลางการบังคับบัญชาความคิด คำพูด และการกระทำ ตามที่หลวงปู่วัดปากน้ำได้กล่าวไว้ว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว และมโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา ว่าด้วยความสำคัญของใจในธรรมะ

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของใจ
-การฝึกสมาธิ
-ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
-การบรรลุนิพพาน
-หลักธรรมทางพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เส้น เส้นหนึ่งซึ่งจากสะดือทะลุหลัง เส้นที่สองจึงจากด้านขวาทะลุด้านซ้ายของลำตัว ดึงให้ตึง ให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท ตรงจุดกันนั้นเรียกว่า กลางก๊ก ณ ตรงนั้นมีดวงธรรมอยู่ ดวงหนึ่ง เรียกว่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือดวงมนุษยธรรม มีลักษณะใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงไก่ ใสแบบกระจก ขาวก็แบบกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใจของเราจะอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น กล่าวคือ ดวงธรรมนั้นแหละ เป็นที่ตั้งของเห็น ของจำ ของคิด ของรู้ ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลาง ดวงนั้น แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง เมื่อใจแยกกันคือไม่ซ้อนเป็นจุดเดียวกัน หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้ว่า “เห็นน่ะดวงมันอยู่ ศูนย์กลางกาย (ฐานที่ 6) จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิด นั่นย่อมลงมาเท่าดวงตา ดำข้างใน นั่นมีหน้าที่รู้...” 2 แต่ในเวลาฝึกสมาธิจะต้องรวมใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ซึ่งอยู่เหนือสะดือ ขึ้นมา 2 นิ้วมือ กล่าวคือ อยู่เหนือกลางถูกอันเป็นจุดตัดของเส้นด้ายที่กล่าวมาข้างต้น 2 นิ้วมือ เพราะศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี้เป็นประตูสู่การบรรลุมรรคผลนิพพานดังที่หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าว ไว้ว่า “ศูนย์นั้นเป็นสำคัญนัก จะเกิดมาในมนุษย์โลก ก็ต้องเกิดที่ศูนย์นั้น จะไปนิพพานก็ต้องเข้า ศูนย์นั้นไปเหมือนกัน แบบเดียวกัน” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายในอดีตก็ นำใจมารวมหยุดอยู่ในตำแหน่งนี้แหละจึงสามารถตรัสรู้ธรรมได้ 5.4 ความสำคัญและธรรมชาติของใจ นักศึกษาคงจะทราบกันดีว่าใจนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นศูนย์กลางการบังคับ บัญชาความคิดคำพูด และการกระทำของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย จะคิดดี พูดดี ทำดี หรือคิด ชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วขึ้นอยู่กับการสั่งการของใจทั้งสิ้นดังคำพูดที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงความสำคัญของใจไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา : ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจ เป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ, มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา : ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี, ตโต น์ สุขมเนวติ ฉายาว อนุปานี : ความสุขย่อมไปตามเขาเพราะเหตุนั้น 96 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More