ข้อความต้นฉบับในหน้า
5.2) ระบบสังคมนิยม (Socialism)
ระบบสังคมนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากแนวคิดหลักคือ ต้องการให้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของส่วนรวมเพื่อลดความบกพร่องของระบบทุนนิยม
โดยเฉพาะ
การเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มนายทุนทั้งหลาย ระบบสังคมนิยมมี 3 แบบหลักๆ คือ สังคมนิยม
อุดมคติ สังคมนิยมประชาธิปไตย และสังคมนิยมมาร์กซิสต์หรือคอมมิวนิสต์
(1) สังคมนิยมอุดมคติ (Utopian Socialism)
แนวคิดนี้มีมาตั้งแต่โบราณว่าด้วยการจัดสังคมให้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์สิน
และมนุษย์มีความเท่าเทียมกันทั้งในทางสังคม ทางการปกครอง และทางเศรษฐกิจ มีการทำงาน
ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน อันทำให้สังคมมีแต่สันติสุขปราศจากการทะเลาะ แก่งแย่งชิงดีกัน
(2) สังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic Socialism)
เป็นระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากแนวคิดที่ต้องการให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของ
ส่วนรวมเพื่อลดความบกพร่องของระบบนายทุน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเคารพแนวคิดแบบ
ประชาธิปไตยในเรื่องความเสมอภาคและเสรีภาพ แนวคิดนี้เปิดโอกาสให้รัฐบาลเข้ามาสร้าง
ความเป็นธรรมแก่สังคม ขจัดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบกัน แต่ยังคงไว้ซึ่งเสรีภาพส่วนบุคคล
(3) ระบบสังคมนิยมมาร์กซิสต์ (Marxism)
ระบบเศรษฐกิจนี้คนทั่วไปมักรู้จักในนามระบบคอมมิวนิสต์ ระบบนี้รัฐจะเป็นเจ้าของ
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ปัจจัยการผลิตจะเป็นของรัฐทั้งหมด เอกชนมีกรรมสิทธิ์เฉพาะที่เป็น
ของส่วนตัวและสินค้าผู้บริโภคเท่านั้น รัฐจะวางแผนตัดสินใจและดำเนินการทางเศรษฐกิจเอง
ประชาชนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามการดำเนินการผลิตไม่ขึ้นอยู่กับการแสวงหากำไรแต่เป็นไปตาม
ที่รัฐวางแผนไว้ในระบบนี้จึงไม่มีเสรีภาพและไม่มีการแข่งขัน
5.3) ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับระบบสังคมนิยม โดยรัฐบาลของ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้เข้าไปมีบทบาทและควบคุมกิจกรรมของเอกชน
มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง รวม
ทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติโดยอยู่ในรูปแบบรัฐวิสาหกิจต่างๆ ประเทศต่างๆ ใน
โลกส่วนใหญ่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้
บทที่ 2 ส ร ร พ ศ า ส ต ร์ ใ น ท า ง โ ล ก
DOU 29