ข้อความต้นฉบับในหน้า
เขาถามด้วยอาการยิ้มว่า “คืออะไร”
เลขานุการ ตอบว่า ให้ ดร.เกตส์อธิบายดีกว่าค่ะ เชิญคุณนั่งรอได้ตามสบายเลยค่ะ
เขาตัดสินใจนั่งคอยอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุด ดร.เกตส์ ก็เข้ามา เขาได้เล่าถึงเรื่องตลกขบขัน
เกี่ยวกับคำพูดของเลขานุการของท่าน
ดร.เกตส์ กล่าวว่า “คุณสนใจจะดูบ้างไหมล่ะว่า ผมนั่งรอเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ณ ที่ไหน และทำมันอย่างไร”
นโปเลียนบอกว่า “จากนั้นเขาก็นำผมไปยังห้องเก็บเสียงเล็ก ๆ ห้องหนึ่ง ภายในห้องนั้น
มีเพียงโต๊ะและเก้าอี้ธรรมดาอย่างละ 1 ตัว บนโต๊ะมีกระดาษปีกใหญ่ สวิตซ์ปิดเปิดไฟอยู่อันหนึ่ง
และดินสอดำหลายแห่ง”
ดร.เกตส์ อธิบายว่า “เมื่อใดก็ตามที่เขาไม่สามารถหาคำตอบของปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง
ได้ เขาจะเข้ามาในห้องนี้ ปิดประตู นั่งลง และดับไฟ แล้วก็นั่งเข้าสมาธิอย่างล้ำลึก”
นโปเลียน กล่าวว่า “เขาใช้หลักความสำเร็จแห่งการควบคุมความสนใจ และร้องขอ
จิตเหนือสำนึกของเขาเพื่อให้ตอบคำถามแก่เขาเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะเจาะจงปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
ก็ตาม ในขณะเดียวกันนั้น มันก็ดูเหมือนกับว่า แนวความคิดใหม่ๆ ไม่ได้เฉียดผ่านเข้ามาใน
สมองของเขาเลย แต่ว่าพอนานๆ ไป มันหรือความคิดดีๆ จะหลั่งไหลเข้าสู่จิตใจของเขาอย่าง
ฉับพลันในทันทีทันใด บางครั้งกว่ามันจะปรากฏกายและเผยโฉมขึ้นมาก็ต้องใช้เวลานานถึง 2
ชั่วโมงเลยทีเดียว และเมื่อความคิดเห็นใหม่ ๆ เริ่มก่อตัวจนกระทั่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว เขาก็
จะเปิดไฟ และลงมือจดบันทึกลงในกระดาษ” 1
จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า การค้นพบกฎ ทฤษฎี หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ของนัก
วิทยาศาสตร์สำคัญๆ ของโลกนั้น ต้องอาศัยสมาธิหรือภาวนามยปัญญาเข้าช่วย แม้จะไม่อาจ
เทียบได้ กับการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็ทำให้เราตระหนักว่าภาวนามยปัญญา
นั้นมีหลายระดับขึ้นอยู่กับเราปฏิบัติในระดับใดผลที่ได้ก็จะอยู่ในระดับนั้น
10.6 นิยาม 5 กฎแห่งสรรพสิ่งในอนันตจักรวาล
จากที่กล่าวไว้ในบทที่ 3 ว่า นิยาม หมายถึง “กฎ” ซึ่งมี 5 ประการ คือ พีชนิยาม อุต
นิยาม กรรมนิยาม จิตตนิยาม และธรรมนิยาม ทั้ง 5 ประการนี้ เป็นกฎที่ควบคุมสรรพสิ่งใน
1
ชัยพฤกษ์ เพ็ญวิจิตร(2545), “พุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์” เล่มหนึ่ง, หน้า 89-90.
288 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก