ข้อความต้นฉบับในหน้า
บ้างไหม” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “บุรุษนั้นแม้ถูกประหารด้วยหอก 1 เล่ม ยังได้เสวยทุกข์เป็น
อันมาก ไม่จำต้องกล่าวถึงการถูกประหารด้วยหอกตั้ง 300 เล่ม พระพุทธเจ้าข้า”
จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงหยิบ “ก้อนหิน” ขนาดเท่าฝ่ามือขึ้นมา แล้วตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ก้อนหินขนาดเท่าฝ่ามือนี้กับขุนเขาหิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ก้อนหินนี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขา
หิมพานต์แล้ว ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่อาจเทียบกันได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่บุรุษนั้นถูกประหารด้วย
หอก 300 เล่มนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทุกข์แห่งนรกแล้ว ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่อาจเทียบ
กันได้
มหานรกนั้นมี 4 มุม 4 ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วย
ฝาเหล็ก มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ 100 โยชน์ทุกเมื่อ ภิกษุทั้งหลาย
ความทุกข์ในโลกนี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันด้วยการบอกไม่ได้
9.7 หลักการตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาต่าง ๆ ก็เพื่ออนุเคราะห์ผู้ถามและพุทธบริษัททั้ง 4
ที่ฟังธรรมอยู่ด้วย คำตอบของพระองค์ทำให้ผู้ถามแจ่มแจ้ง เปรียบเสมือนหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือเหมือนส่องประทีปในที่มืด ก่อนที่พระองค์จะทรงตอบ
คำถามใดก็ตาม จะทรงตรวจดูสาเหตุการถามปัญหาของผู้ถามก่อนว่า สาเหตุหรือจุดประสงค์
หลักของผู้ถามคืออะไร เพราะเมื่อทราบสาเหตุแล้วจึงทำให้พระองค์ตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ตรงใจ
ผู้ถาม สำหรับสาเหตุแห่งการถามปัญหาของคนในโลกนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ 5 ประการ
ดังนี้
9.7.1 สาเหตุการถามปัญหา 5 ประการ
1) ถามปัญหาเพราะโง่เขลาและหลงลืม
2) ถามปัญหาเพราะมีความปรารถนาลามก
3) ถามปัญหาเพราะความดูหมิ่น
4) ถามปัญหาเพราะประสงค์จะรู้
1 พาลปัณฑิตสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ภิกขุวรรค, มจร. เล่ม 14 ข้อ 248-250 หน้า 293.
บทที่ 9 ว า ท ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
DOU 261