การใช้สื่อการสอนในธรรมะของพระพุทธเจ้า GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 269
หน้าที่ 269 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการใช้สื่อการสอนในธรรมะของพระพุทธเจ้าผ่านตัวอย่างต่าง ๆ เช่น ขอนไม้ที่ลอยตามแม่น้ำ ด้วยการตั้งคำถามและการอธิบายความหมายของแต่ละสิ่ง โดยเชื่อมโยงกับแนวทางการพาไปสู่นิพพาน การเปรียบเทียบระหว่างฝ่ายที่เข้าใกล้และไกลจากฝั่ง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงอายตนะภายในและภายนอก รวมถึงการประพฤติปฏิบัติของภิกษุในธรรมวินัย

หัวข้อประเด็น

-การใช้สื่อการสอน
-พระพุทธเจ้ากับธรรมะ
-ความหมายของขอนไม้ในธรรมะ
-แนวทางสู่การพ้นทุกข์
-คุณค่าของอายตนะภายในและภายนอก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ก็ทรงใช้กองไฟนั้นเป็นสื่อการสอนบ้าง ทรงใช้ “ขอนไม้” ที่ลอยมาตามน้ำบ้าง ใช้ “กลุ่มฟองน้ำ” บ้าง ใช้ “น้ำล้างพระบาท” บ้าง ใช้ “ก้อนหิน” เป็นสื่อการสอนบ้าง เป็นต้น ซึ่งจะได้ยก ตัวอย่างดัง ต่อไปนี้ 1. ใช้ “ขอนไม้” เป็นสื่อการแสดงธรรม สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตกรุงโกสัมพี ทรงทอด พระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส ถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้นที่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าขอนไม้จะไม่ลอยเข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่ลอยเข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมกลางแม่น้ำ ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์นำไป ไม่ถูกอมนุษย์นำไป ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่ผุภายใน ขอนไม้นั้นก็จักลอยไปสู่สมุทรได้ เพราะกระแสน้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร ถ้าเธอทั้งหลายจะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมในท่ามกลาง ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ไม่เป็นผู้เน่าภายในเธอทั้งหลาย ก็จักน้อมไปสู่นิพพาน เพราะสัมมาทิฏฐิย่อมน้อมไปสู่นิพพาน ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า “อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ อะไรชื่อว่าฝั่งโน้น อะไรชื่อว่าการจมในท่าม กลาง อะไรชื่อว่าการเกยตื้น การถูกมนุษย์จับไว้เป็นอย่างไร การถูกอมนุษย์เข้าสิงเป็นอย่างไร การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้เป็นอย่างไร ความเน่าภายในเป็นอย่างไร” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า คำว่า “ฝั่งนี้” เป็นชื่อของ “อายตนะภายใน 6” คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คำว่า “ฝั่งโน้น” เป็นชื่อของ “อายตนะภายนอก 6” คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ คำว่า “การจมในท่ามกลาง” เป็นชื่อของ “นันทิราคะคือความกำหนัดด้วยความยินดี” คำว่า “การเกยตื้น” เป็นชื่อของ “การถือตัว” “การถูกมนุษย์จับไว้” คือ “ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่คลุกคลี เพลิดเพลิน เศร้าโศก กับ พวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขามีกิจก็ช่วยทำกิจนั้นด้วยตนเอง” “การถูกอมนุษย์เข้าสิง” คือ “ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์โดย 258 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More