พิธีบูชามหายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 162
หน้าที่ 162 / 373

สรุปเนื้อหา

พิธีบูชามหายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชแสดงถึงการมีส่วนร่วมของพระมหากษัตริย์ในกิจกรรมร่วมกับประชาชน โดยการนั่งเป็นประธานและบริจาคทาน รวมทั้งการกระตุ้นให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการสร้างจิตใจของประชาชน เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาติ มีผลให้ประชาชนเข้าร่วมในเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่มีแรงจูงใจในสังคมและส่งเสริมความสามัคคี

หัวข้อประเด็น

-พิธีบูชามหายัญ
-บทบาทของพระมหากษัตริย์
-ความร่วมมือของประชาชน
-การพัฒนาประเทศ
-การปกครองด้วยแรงจูงใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.9.11 แผนภูมิการประกอบพิธีบูชามหายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช พระมหากษัตริย์ กลุ่มเจ้าเมือง กลุ่มอำมาตย์ กลุ่มพราหมณ์ กลุ่มคหบดี ประเทศราช ราชบริพารผู้ใหญ่ มหาศาล มหาศาล ประธานพิธี บูชามหายัญ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มพ่อค้าย่อย อาชีพอิสระ กลุ่มเกษตรกร ชั้นผู้น้อย พิธีบูชามหายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้น สามารถสรุปออกมาเป็นแผนภูมิได้ดังที่ แสดงมานี้ แผนภูมินี้แตกต่างกับแผนภูมิแรก ตรงที่พระเจ้าแผ่นดินในฐานะประธานพิธีบูชา มหายัญ ไม่ได้เพียงแต่นั่งสั่งการอยู่ข้างบน แต่เสด็จลงมาทำหน้าที่เป็นประธานพิธีเอง ลงมา บริจาคทานแก่พสกนิกรด้วยพระองค์เอง ลงมาอยู่ท่ามกลางประชาชนของพระองค์ จึงเป็นเหตุ ให้พระราชาสามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของคนทั้งแผ่นดินได้ ส่งผลให้กลุ่มผู้มีอิทธิพล 4 กลุ่มไม่ อาจจะนิ่งดูดายอยู่ได้ ต้องลงมาทำกิจกรรมกับร่วมกับผู้นำด้วย จึงถือเป็นต้นแบบแห่งการ ปกครองด้วยวิธีจูงใจ เชิญชวนชาวเมืองให้ร่วมแรงร่วมใจ และร่วมสนับสนุนกำลังทรัพย์โดยมุ่ง ไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคู่กับจิตใจ บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก DOU 151
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More