การศึกษาและผลกระทบของมานุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎก GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 89
หน้าที่ 89 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สรุปเกี่ยวกับการรับรู้และความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีผลต่อดินฟ้าอากาศและสุขภาพตามพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมของมนุษย์ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้านหนึ่งการประสูติของพระบรมโพธิสัตว์สามารถมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางธรรมชาติได้ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำกิจกรรมการศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นในการเรียนรู้พระธรรม

หัวข้อประเด็น

-หลักธรรมในพระไตรปิฎก
-ผลกระทบของพฤติกรรมมนุษย์
-สุขภาพและการใช้ชีวิต
-การศึกษาธรรมในชีวิตประจำวัน
-การปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าก็สุกเสมอกัน มนุษย์ผู้บริโภคข้าวกล้าที่สุกเสมอกันย่อมมีอายุยืน มี ผิวพรรณดี มีกำลัง และมีอาพาธน้อยฯ จากพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระสูตรนี้ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พฤติกรรม ของมนุษย์ซึ่งจัดอยู่ในพีชนิยาม ส่งผลต่อสภาพดินฟ้าอากาศอันเป็นส่วนของอุตุนิยามด้วย และ เมื่อสภาพดินฟ้าอากาศเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม ก็จะส่งผลมาถึงมนุษย์ด้วยคือเป็น เหตุให้สุขภาพของมนุษย์เสื่อมถอยลง ความหมายของธรรมนิยามในนัยที่ 2 นี้ หากพิจารณาดูให้ดีจะพบว่า มีความหมาย สอดคล้องกับความหมายนัยที่ 1 คือเป็นเรื่องของเหตุและผลนั่นเอง เพียงแต่ในบางเรื่องเราไม่ อาจทำความเข้าใจโดยวิธีการคิด เช่น การประสูติของพระบรมโพธิสัตว์กับการเกิดแผ่นดินไหว แต่จะรู้ได้ด้วยการปฏิบัติธรรมจนบังเกิดญาณทัสสนะ ก็จะพบว่าสิ่งนี้เป็นแบบแผนอย่างหนึ่ง ของพระบรมโพธิสัตว์ทุกพระองค์ กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 4 หลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 4 และกิจกรรมในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 4 แล้วจึงศึกษาบทที่ 5 ต่อไป 78 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More