การสร้างบารมีและผลของกรรมในพุทธประวัติ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 263
หน้าที่ 263 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติการสร้างบารมีของพระอริยสาวกและแนวทางการสร้างบุญ โดยอ้างอิงถึงวิมานวัตถุ 85 เรื่อง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการทำความดี พร้อมการจัดตั้งตำแหน่งเอตทัคคะที่ช่วยกระตุ้นผู้คนให้ยึดถือแบบอย่างที่ดี สรุปใจความสำคัญเป็นหลักการชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนำเสนอถึงผลบุญแม้จะเล็กน้อยแต่มีผลในด้านที่ดีและการปฏิบัติที่สมบูรณ์แบบ

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมี
-ผลบุญและบาป
-เอตทัคคะ
-แรงบันดาลใจในการทำดี
-วิธีการปฏิบัติในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประวัติการสร้างบารมีของพระอริยสาวกสาวิกาทั้งหลาย และเรื่องการ ส่งผลของบุญและบาปที่มนุษย์ เทวดาและเปรตทั้งหลายทำไว้ในอดีตชาติ หลักการและตัวอย่างนั้นจะสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลักการเป็นข้อ ๆ จะให้ ความชัดเจนแก่ผู้ฟังในการนำไปปฏิบัติว่า จะต้องทำเป็นขั้นตอน 1 2 3 4 อย่างไรบ้าง การ กล่าวธรรมโดยยกหลักการเป็นข้อ ๆ จะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพรวมทั้งหมด ง่ายต่อการจดจำ และ ไม่หลงประเด็น ส่วนตัวอย่างจะทำให้เกิดความเข้าใจหลักการชัดขึ้น และสร้างแรงบันดาลใจใน การปฏิบัติ มีหลักฐานปรากฏว่าวิมานวัตถุ 85 เรื่อง ซึ่งเป็นอานิสงส์แห่งบุญที่เหล่าเทวดาได้กระทำ ไว้ในสมัยเป็นมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกมีพระมหาโมค คัลลานะ เป็นต้น ได้ไปสนทนากับเทวดาเหล่านั้น แล้วนำเรื่องนี้มาเล่าให้แก่มนุษย์โลกฟังเพื่อ ให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างบุญ โดยวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะเกิดความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลายพากันทำบุญแล้วไปบังเกิดในเทวโลกเสวยสมบัติอันโอฬาร ถ้าเราจาริกไปใน เทวโลก ทำเทวดาเหล่านั้นเป็นประจักษ์พยาน ให้กล่าวบุญตามที่พวกเขาสร้างสมไว้ และผล บุญตามที่ได้ประสบแล้วกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ก็จะทรงแสดงผลกรรม ให้ประจักษ์ชัดแก่มนุษย์ทั้งหลาย จะทรงชี้ความที่บุญแม้ประมาณน้อย ก็ยังมีผลโอฬาร พระ ธรรมเทศนานั้น ก็จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก นอกจากการสร้างแรงบันดาลใจในการทำความดีด้วยการเล่าประวัติการสร้างบารมี ของพระโพธิสัตว์ พระอริยสาวกสาวิกา และผลแห่งบุญและบาปแล้ว ยังพบว่าการประกาศแต่งตั้ง “เอตทัคคะ” คือ ตำแหน่งผู้เลิศด้านต่าง ๆ ท่ามกลางพุทธบริษัท ก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ในการสร้างบุญได้อย่างดียิ่ง การแต่งตั้ง “เอตทัคคะ” โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการยกย่อง “บุคคลตัวอย่าง” ให้ปรากฏแก่มหาชน หลายต่อหลายคนเมื่อได้เห็นต้นแบบที่ดีนั้นแล้วก็ได้ ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นดังเช่นภิกษุภิกษุณีผู้ได้รับการยกย่องนั้นบ้างในภายภาค หน้า ซึ่งจากประวัติการสร้างบารมีของพระสาวกสาวิกาที่เป็น “เอตทัคคะ” ด้านต่าง ๆ ทุกรูป นั้นพบว่ามีจุดเริ่มต้นการสร้างบารมีจากการเห็นบุคคลตัวอย่างแบบนี้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การ แสดงธรรมโดยยกตัวอย่างประกอบจะทำให้ผู้ฟังมีแรงบันดาลใจในการปฏิบัติตามมากขึ้น 1 ปรมัตถทีปนี, อรรถกถาขุททกนิกาย วิมานวัตถุ, มก. เล่ม 48 หน้า 5-7. 252 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More