ความรู้ในพระไตรปิฎกและวิทยาศาสตร์ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 290
หน้าที่ 290 / 373

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในพระไตรปิฎกและวิทยาศาสตร์ โดยสังเกตว่าตลอดประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสัจธรรมที่คล้ายคลึงกับที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้เมื่อกว่า 2,500 ปีที่แล้ว พระองค์ได้ยกตัวอย่างแนวปฏิบัติในการตรวจสอบความรู้ เพื่อไม่ให้เร็วเกินไปที่จะเชื่อสิ่งใด โดยกล่าวถึง 10 หลักการสำคัญในการเข้าใจความรู้ที่ได้ยินหรือได้ศึกษา ขอให้นักศึกษาหรือผู้สนใจหาความรู้ใช้หลักการเหล่านี้ในการเรียนรู้ที่มากขึ้น และตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากไหนก็ตาม ในฐานะที่เราต้องการค้นหาความจริงและความรู้ที่เป็นประโยชน์ DMC.tv

หัวข้อประเด็น

-ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และพระไตรปิฎก
-เจตคติต่อความรู้
-หลัก 10 ประการในการเข้าใจความรู้
-การตรวจสอบความรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในขณะเดียวกันเมื่อวิทยาศาสตร์สั่งสมความรู้และประสบการณ์ไปมากเข้า ก็สามารถ ค้นพบสัจธรรมบางประการในธรรมชาติได้เช่นเดียวกัน แม้จะต้องลองถูกลองผิดมานับครั้ง ไม่ถ้วนแล้วก็ตาม ซึ่งสัจธรรมที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบนั้นก็มีอยู่หลายประการที่ปรากฏ อยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้กว่า 2,500 ปีมาแล้ว 10.2 เจตคติต่อความรู้ในพระไตรปิฎก เจตคติต่อความรู้ที่สำคัญในพระไตรปิฎกซึ่งสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ คือ อย่าด่วน เชื่ออะไรง่าย ๆ โดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ด้วยตนเอง โดยสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไป ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เมื่อเสด็จถึงตำบลของพวกกาลามะ ชื่อว่าเกสปุตต นิคม พวกกาลามะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าและได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ได้ประกาศว่า ลัทธิของตนเท่านั้นที่น่าเชื่ นที่น่าเชื่อถือ และได้กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น ลัทธิของผู้อื่นว่าไม่น่าเชื่อถือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ได้ประกาศว่า ลัทธิของตนเท่านั้นที่น่าเชื่อถือ และได้กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น ลัทธิของผู้อื่นว่าไม่น่าเชื่อถือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความสงสัยลังเลใจในสมณพราหมณ์เหล่า นั้นว่า “บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สมควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย สมควรที่จะลังเลใจ ท่านทั้ง หลายเกิดความสงสัยลังเลใจในสิ่งที่ควรสงสัย จากนั้นพระพุทธองค์ได้ให้หลักอันเป็นเจตคติต่อ ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ยินได้ฟังหรือได้ศึกษาไว้ 10 ประการ คือ 1) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา 2) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา 3) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ 4) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ 5) อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ คือ การคิดเอาเอง 6) อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน คือ คาดคะเนตามหลักเหตุผล 7) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล บทที่ 1 0 วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก DOU 279
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More