ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 3
ความรู้พื้นฐานเรื่องเอกภพ
เนื้อหาบทที่ 3 นี้ความจริงอยู่ในหัวข้อหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากเป็น
เรื่องใหญ่และมีเนื้อหามากพอสมควร จึงแยกออกมากล่าวอีกบทหนึ่งต่างหาก ซึ่งความรู้พื้นฐาน
เรื่องเอกภพนี้จะใช้เปรียบเทียบกับบทที่ 10 เรื่องวิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก
3.1 ความหมายของเอกภพ
เอกภพ (Universe) หมายถึง ระบบรวมของทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติ” ตั้งแต่สิ่งที่เล็ก
ที่สุดที่มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อได้แก่ อะตอม อันประกอบด้วย โปรตอน, นิวตรอนและอิเล็กตรอน
เป็นต้น จนถึงสิ่งที่ใหญ่โตมโหฬาร ได้แก่ กาแล็กซีต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล
อวกาศ (Space) หมายถึง พื้นที่ว่างทั้งมวลในเอกภพ โดยที่ทั้งโลก, ดาวเคราะห์,
กาแลกซี และเทหวัตถุ ฟากฟ้าอื่นๆ ก็กำลังเคลื่อนที่อยู่ในอวกาศไม่ว่าเราจะเริ่มต้นเดินทางออก
จากเทหวัตถุฟากฟ้าใด ๆ ก็ตาม เราจะต้องออกเผชิญกับอวกาศตลอดเวลา
นักดาราศาสตร์ประมาณกันว่า อาณาบริเวณทั้งหมดของเอกภพมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 28,000 ล้านปีแสง โดยไม่น่าจะมีโครงสร้างอื่นใดที่ใหญ่กว่านี้อีก แต่นั่นก็เป็นเพียง
การคาดคะเนจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจากข้อมูลเหล่านี้ทำให้พอจะคาดคะเนได้ว่าเอกภพ
น่าจะมีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
นักดาราศาสตร์กลุ่มที่เสนอทฤษฎีเอกภพพองตัว (Inflation theory) ระบุว่าเอกภพมี
การขยายตัวเองตลอดเวลาและเอกภพไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว แต่มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ใหญ่กว่า
โดยเปรียบเทียบกับลูกโป่งที่มีจุดสีแต้มบนผิว เมื่อลูกโป่งขยายตัวออก จุดสีก็จะขยายขนาด
ด้วยเช่นกัน ในกรณีนี้เอกภพเป็นเพียงจุดสีไม่ใช่ตัวลูกโป่ง ที่ผิวลูกโป่งอาจมีจุดสีหลายจุด และ
ขยายตัวแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพื้นผิวลูกโป่งบริเวณนั้นๆ ซึ่งหมายความว่า เอกภพ
2
'อดิศักดิ์ มหาวรรณ (2551). “เอกภพ.” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://web.dara.ac.th/daraspace/Data/
Data_Datasart/Universe/universe1.html.
เทหวัตถุ หมายถึง ก้อนหรือชิ้นหรือส่วนหนึ่งของสสารอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ ก็ได้
44 DOU สรรพศาสตร์ ในพระไตรปิฎก