ระบบเศรษฐกิจและระบบทุนนิยม GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 39
หน้าที่ 39 / 373

สรุปเนื้อหา

ระบบเศรษฐกิจหมายถึง วิธีการจัดการกับทรัพยากรในการผลิตและการกระจาย โดยมีหลายระบบสำคัญ อาทิ ทุนนิยมซึ่งมีเอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ระบบทุนนิยมมีกระบวนการทางเศรษฐกิจที่เริ่มจากการตัดสินใจของเอกชน โดยพิจารณาตามกลไกตลาด ตลาดตอบสนองตามอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงการทำกำไรที่มีความสำคัญ การกระจายรายได้ในระบบนี้อาจมีความไม่เท่าเทียม ซึ่งมีส่วนทำให้กลุ่มนายทุนมีอิทธิพลในนโยบายของรัฐ การแข่งขันก่อให้เกิดการผูกขาดในกลุ่มที่มีทุนมากขึ้นและอาจส่งให้ผู้ประกอบการรายเล็กอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน.

หัวข้อประเด็น

-ระบบเศรษฐกิจ
-ทุนนิยม
-การผลิตและการบริโภค
-การกระจายรายได้
-กลไกตลาด
-นโยบายทางเศรษฐกิจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพซึ่งเป็นจุดที่อุปสงค์กับอุปทานมีความสมดุล พอดีกัน 5.) ระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ (Economy system) หมายถึง ระบบการกำหนดกรรมสิทธิ์และวิธีใน การบริหารจัดการแรงงานและทรัพยากรในการผลิต การกระจาย และการบริโภคของประชาชนใน แต่ละประเทศ ซึ่งระบบเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ได้แก่ ระบบทุนนิยมหรือระบบนายทุน, ระบบ สังคมนิยม และระบบเศรษฐกิจผสม 5.1) ระบบทุนนิยม (Capitalism) ระบบทุนนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ของตน การตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็นกิจกรรมส่วนบุคคลไม่ใช่การควบคุมบริหารโดยรัฐ ซึ่ง ลักษณะสำคัญของระบบทุนนิยมมีดังนี้ (1) เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทั้งที่เป็นปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินอื่นๆ เอกชนมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกใช้ทรัพย์สินของตนอย่างเต็มที่ (2) เอกชนเจ้าของทรัพย์สินหรือเจ้าของธุรกิจเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทุกขั้นตอน ของกระบวนการผลิต ตั้งแต่การริเริ่มกิจการ การเลือกใช้ทรัพยากรการผลิต วิธีการผลิต และ การกำหนดราคาสินค้าและบริการของตน (3) กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปโดยผ่านกลไกของราคาหรือกลไกตลาด กล่าวคือ ผู้ผลิตจะตัดสินใจการผลิตสินค้าและบริการตามความต้องการของตลาดโดยคำนึงถึงกำไรเป็น สำคัญ กำไรจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดของระบบทุนนิยม (4) อาจมีการผูกขาดการผลิตได้โดยกลุ่มที่มีทุนมากจะขยายการผลิตมากทำให้ ต้นทุนการผลิตต่ำ ส่วนผู้ที่มีทุนน้อยไม่อาจขยายการผลิตขนาดใหญ่ได้ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เมื่อต้นทุนสูงจึงต้องขายแพงเป็นเหตุให้ขายไม่ออก ในที่สุดจึงต้องยกเลิกธุรกิจไป (5) การกระจายรายได้ขาดความเสมอภาคและความเป็นธรรม กล่าวคือคนกลุ่มน้อย จะมีความมั่งคั่งมากแต่คนส่วนใหญ่ในสังคมจะมีฐานะพอมีอันจะกินจนถึงขนาดยากจน (6) ทำให้กลุ่มนายทุนครอบงำการกำหนดนโยบายบริหารประเทศ เพราะกลุ่ม นายทุนมีอิทธิพลทางการเงินมาก สามารถใช้อิทธิพลทางการเงินเข้าครอบงำทางการเมืองการ ปกครองได้ 28 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More