ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 8
เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
8.1 ภาพรวมเศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก
เศรษฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นเศรษฐศาสตร์แบบ “มีบุญเป็นศูนย์กลาง” กล่าว
คือ มีหลักว่าระบบเศรษฐกิจที่ดีจะต้องเอื้อให้สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญ พัฒนาตน
ให้เจริญงอกงามในกุศลธรรม อยู่ร่วมกันด้วยความสุข มีความก้าวหน้าทั้งเศรษฐกิจและจิตใจไปคู่
กัน เพราะ บุญเป็นปัจจัยหลักแห่งความสุขความสำเร็จของมนุษย์ทั้งในระดับบุคคลและระดับ
ประเทศ หรือในระดับจุลภาคและมหภาค ต่างจากระบบเศรษฐศาสตร์ในระบบทุนนิยมที่ “มี
ทุนเป็นศูนย์กลาง” มุ่งเน้นการพัฒนาทางวัตถุ ดูอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตรารายได้
ต่อหัวของประชากรเป็นหลัก
หลักการตั้งตัวสร้างฐานะในพระพุทธศาสนา คือ “หลักหัวใจเศรษฐี” ได้แก่
1. อุฏฐานสัมปทา
2. อารักขสัมปทา
3. กัลยาณมิตตตา
4. สมชีวิตา
หาทรัพย์เป็น
เก็บรักษาทรัพย์เป็น
สร้างเครือข่ายคนดีเป็น
ใช้ชีวิตเป็น
เมื่อบุคคลแต่ละคนได้สั่งสมบุญอันเป็นอริยทรัพย์ ได้แก่ การบริจาคทาน เป็นต้น ควบคู่
ไปกับการปฏิบัติตามหลักหัวใจเศรษฐีนี้ก็จะส่งผลให้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี
ส่วนเศรษฐกิจในระดับมหภาคหรือระดับประเทศนั้น รัฐบาลก็ต้องส่งเสริมประชาชน
ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องบุญ และสั่งสมบุญควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตาม
หลักหัวใจเศรษฐีทั้ง 4 ประการนี้ หากทำได้เช่นนี้เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีและเติบโตอย่าง
มั่นคง
เรื่องบุญหรืออริยทรัพย์นั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นเรื่องการพัฒนาจิตใจ ส่วนหัวใจ
เศรษฐีเป็นหลักการพัฒนาเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้หลักเศรษฐศาสตร์
ในพระไตรปิฎกจึงอาจกล่าวได้ว่า “เป็นหลักที่ต้องพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจไปด้วยกัน”
200 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก