การจงกรมและการอบร่างกายในเรือนไฟ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฏก หน้า 349
หน้าที่ 349 / 373

สรุปเนื้อหา

การจงกรมเป็นการเดินเพื่อทำสมาธิ ช่วยในการขับพิษโดยการออกกำลังกาย เช่นเดียวกับการอบร่างกายในเรือนไฟที่ช่วยให้เหงื่อออกและขับพิษได้ นอกจากนี้เรือนไฟยังมีอุปกรณ์และสถานที่เพื่อให้พระภิกษุได้ใช้ในการอบและซักจีวร รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ หลังจากการอบ เช่น การสรงน้ำ การรักษาจิตใจต้องทำควบคู่กับการรักษาร่างกายเพื่อให้หายป่วยได้อย่างรวดเร็ว

หัวข้อประเด็น

-การจงกรม
-การอบร่างกายในเรือนไฟ
-สุขภาพจิตและร่างกาย
-การขับพิษในร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่จงกรม คำว่า “จงกรม” หมายถึง การเดินกลับไปกลับมาโดยมีสติกำกับ จงกรมจึง เป็นการทำสมาธิในท่าเดินนั่นเอง ส่วน “ที่จงกรม” หมายถึง สถานที่ที่ได้จัดเตรียมไว้สำหรับ การเดินจงกรมของพระภิกษุ การจงกรมขับพิษได้อย่างไร การจงกรมนั้นถือเป็นการออกกำลังกายวิธีหนึ่ง เพราะ ต้องเดินกลับไปกลับมาหลายรอบ ทำให้ร่างกายได้ออกกำลังเป็นเหตุให้เหงื่อออก พิษต่าง ๆ ที่ สะสมอยู่ในร่างกายก็จะถูกขับออกด้วยเหงื่อนั้น 1.6.2) การขับพิษด้วยการอบร่างกายในเรือนไฟ เรือนไฟ หมายถึง โรงเรือนสำหรับอบร่างกายของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล การอบ ร่างกายก็เป็นการขับพิษอีกวิธีหนึ่ง เพราะการอบจะทำให้เหงื่อออกมาก พิษในร่างกายก็จะถูก ขับออกมาพร้อมกับเหงื่อนั้น รูปแบบของเรือนไฟและอุปกรณ์ในเรือนไฟมีดังนี้ คือ เรือนไฟสร้างเป็นอาคาร มีฝาผนัง โดยรอบ มีประตูเข้าออก 1 ประตู ภายในเรือนไฟมี “เตาไฟ” สำหรับจุดไฟเพื่ออบร่างกาย ถ้า เรือนมีขนาดใหญ่จะตั้งเตาไฟไว้ตรงกลาง ถ้าเรือนไฟมีขนาดเล็กจะตั้งเตาไฟไว้ข้างใดข้างหนึ่ง และมีปล่องควันอยู่บนหลังคาเพื่อระบายควันออก ภายในเรือนไฟยังมี “อ่างน้ำ” หรือ “รางน้ำ” เพื่อให้ความชุ่มเย็น ช่วยลดความร้อน จากเตาไฟ ในบริเวณรอบๆ เตาไฟก็จะมี “ดั่ง” สำหรับให้พระภิกษุนั่งเพื่ออบร่างกาย ในบริเวณใกล้เรือนไฟพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังอนุญาตให้สร้าง “ศาลาเรือนไฟ” “บ่อน้ำ” และ “สระน้ำ” ไว้สำหรับให้พระภิกษุปฏิบัติกิจหลังจากออกจากเรือนไฟแล้ว เช่น ซัก จีวร ตากจีวรและสรงน้ำ เป็นต้น โดยสระน้ำนั้นจะเป็นที่สำหรับให้พระภิกษุลงอาบชำระล้าง ร่างกายหลังจากออกจากเรือนไฟ 2) การรักษาจิตใจด้วยธรรมโอสถ จากที่กล่าวแล้วว่า มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้นประกอบด้วย“ร่างกายกับจิตใจ” ซึ่ง สัมพันธ์กัน อาศัยซึ่งกันและกัน ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน เมื่อร่างกายเกิดอาพาธหรือเจ็บป่วย ก็จะส่งผลถึงจิตใจด้วย หรือเมื่อไม่สบายใจหรือป่วยทางใจ ก็จะส่งผลถึงร่างกายด้วยเช่นกัน ดัง นั้นในการรักษาจึงจำเป็นต้องรักษาทั้ง 2 ส่วน คือ ทั้งกายและใจ อาพาธนั้นๆ จึงจะหายได้ อย่างรวดเร็ว 338 DOU สรรพ ศ า ส ต ร์ ในพระไตรปิฎก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More